แนะนำหนังสือ : ลิงเปลือย

ลิงเปลือย แปลจาก The Naked Ape: A Zoologist’s Study of the Human Animal ผู้เขียน :  Desmond Morris ผู้แปลและเรียบเรียง : มยูร วิเศษกุล พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ.2513 สำนักพิมพ์แพร่พิทยา มนุษย์ คือ ลิงเปลือย?!?!? The Naked Ape: A Zoologist’s Study of the Human Animal หรือชื่อหนังสือที่ถูกแปลงเป็นภาษาไทยว่า “ลิงเปลือย” ถูกเขียนขึ้นในปี ค.ศ.1967  (พ.ศ.2510) โดย  Desmond Morris นักพฤติกรรมสัตว์และนักสัตววิทยา ชาวอังกฤษ ต่อมาถูกแปลเป็นภาษาไทยในปี พ.ศ.2513 ว่ากันว่าหนังสือเล่มนี้เป็นที่กล่าวถึงและได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางจนแปลไปถึง 23 ภาษาเลยทีเดียว หนังสือเล่มนี้เป็นการกล่าวถึงพฤติกรรมของมนุษย์นับตั้งแต่การวิวัฒนาการมาจากลิง จนถึงพฤติกรรมของมนุษย์ร่วมสมัย โดยการอธิบายว่ามนุษย์ก็คือลิงชนิดหนึ่งที่ขนสั้นกุดContinue reading “แนะนำหนังสือ : ลิงเปลือย”

จีนผสมเทียมค่างสามสีตัวแรกของโลก

ค่างสามสีผสมเทียมตัวแรกของโลก วันที่ 11 พฤศจิกายน 2021 สำนักข่าว Xinhua ของจีนรายงานว่าศูนย์วิจัยไพรเมตฉางหลง เมืองกว่างโจว มณฑลกวางตุ้ง ประสบความสำเร็จในการผสมเทียม ค่างสามสี (Black-shanked douc) ตัวแรกของโลก โดยค่างสามสีน้อยตัวนี้ได้ลืมตาดูโลก เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2021 ที่ผ่านมา เมื่อแรกคลอดค่างน้อยมีความจำเป็นต้องอยู่ในตู้อบประมาณ 2 เดือน และเมื่อมีอายุประมาณ 2 ปีครึ่งจึงจะสามารถปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติได้ภายใต้การดูแลและฝึกฝนของผู้เชี่ยวชาญ ค่างสามสี อีกหนึ่งไพรเมตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ใกล้สูญพันธุ์ ค่างสามสี มีชื่อสามัญว่า Black-shanked douc ชื่อวิทยาศาสตร์ Pygathrix nigripes มีถิ่นที่อยู่อาศัยอยู่บริเวณตอนกลางของเวียดนามฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ และบางส่วนของกัมพูชาด้านตะวันออก โดยอยู่อาศัยเป็นฝูแบบตัวเมียหลายตัว-ตัวผู้หลายตัว (multi male –multi-female group) ในป่าโปร่ง และ ป่าผลัดใบ เราจะเห็นว่าในเวียดนาม เป็นถิ่นที่อยู่ของ ค่างสามสี ค่างสี่สี และ ค่างห้าสี เรียงจำนวนสีกันเลยทีเดียวค่ะ แต่ว่าแต่ละชนิดพันธุ์นั้นอาจจะมีสีสันและถิ่นที่อยู่อาศัยต่างกันบ้าง ค่างสามสีContinue reading “จีนผสมเทียมค่างสามสีตัวแรกของโลก”

แนะนำหนังสือ : วานรศึกษา

ชื่อหนังสือ : วานรศึกษา บรรณาธิการโดย : ผศ.สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ และ ผศ.ดร.วรวิทย์ บุญไทย หน่วยงานผู้จัดพิมพ์ : คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และ ห้องปฏิบัติการมานุษยวิทยากายภาพและชาติพันธุ์วิทยา หนังสือวานรศึกษา ป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำนิทรรศการ Primate & Me ของพิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์ฯ แต่จะใช้คำว่าเป็นหนังสือ “ประกอบ” นั้น “ผิด” เนื่องจากไม่ได้เกิดจากการนำบทนิทรรศการหรือเนื้อหาภายในนิทรรศการมาเปิดเผยแต่อย่างใด เป็นแต่เพียงการรวมบทความที่ช่วยเล่าเรื่องการศึกษาเรื่องลิงในประเทศไทยให้ชัดเจนขึ้น ดังนั้น ใครจะมาชมนิทรรศการโดยไม่ชอบอ่านหนังสือ หรือ ใครที่ชอบอ่านหนังสือแต่ขี้เกียจมาชมนิทรรศการก็ได้ทั้งสิ้น แต่ถ้าจะใช้คำว่าหนังสืออันเนื่องด้วยการจัดทำนิทรรศการก็พอได้ โดยเนื้อหาของหนังสือนั้น เป็นการรวมบทความของนักวิชาการที่ศึกษาลิงในความหมายของนักวิทยาศาสตร์หรือนักชีววิทยา และ อีกส่วนหนึ่งเป็นบทความที่เขียนโดยนักมานุษยวิทยา นามกระเดื่องหลายท่าน ในฐานะที่ตนเองเป็นผู้สนใจเรื่องลิงเช่นกัน ฉันมองว่าเป็นหนังสือที่พยายามจะเชื่อมโลก 2 ใบเข้าไว้ด้วยกัน คือลิงในความหมายของสิ่งมีชีวิตที่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับ Primate และลิง ในฐานะที่เป็นมิติกับความข้องเกี่ยวกับความเป็นมนุษย์ ทั้งในแง่วิวัฒนาการของมนุษย์ การปรากฎตัวในวรรณกรรมทางศาสนา หรือมิติทางเพศของผู้ศึกษาลิง ดังนั้น หากจะพูดตรงๆอาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย ที่คน 1 คนContinue reading “แนะนำหนังสือ : วานรศึกษา”

ลิง กับ คน : ไพรเมทวิทยาเชิงชาติพันธุ์ของลิงแสม

Book Review… วิทยานิพนธ์ลิง กับ คน : ไพรเมทวิทยาเชิงชาติพันธุ์ของลิงแสม ณ ต.ท่าหิน อ.เมือง จ.ลพบุรี โดย เวทัส โพธารามิก วันนี้ขอเขียนถึงหนังสือหนึ่งเล่มที่มีความน่าสนใจมาก สำหรับคนที่มีความสนใจศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับลิง ซึ่งอันที่จริงไม่ใช่หนังสือเล่ม แต่เป็นวิทยานิพนธ์ ระดับมหาบัณฑิต สาขามานุษยวิทยา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ของ เวทัส โพธารามิก เรื่อง ไพรเมทวิทยาเชิงชาติพันธุ์ของลิงแสม (Macaca fascicularis) ณ ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี สมัยก่อนนู้น ตอนที่วิทยานิพนธ์เล่มนี้ออกมาใหม่ๆ (2556) ประเด็นเรื่องลิงลพบุรีตีกัน ก็อาจเป็นที่รับรู้ของคนในท้องถิ่นอยู่แล้ว แต่ว่ามันอาจจะยังไม่ได้นำเสนอผ่านสื่อหลัก ที่นำข่าวลิงตีกันมาเล่นเป็นสกู๊ปข่าวบ้าง หรือตัดมาเป็นคลิปหรือ meme ขำๆตามเพจบ้าง แต่ตอนนี้ความรับรู้เรื่องลิงลพบุรีตีกันมันกว้างออกไปจากคนในท้องถิ่น เราก็เลยคิดว่าวิทยานิพนธ์เล่มนี้ ช่วยให้เห็นคำตอบที่ชัดเจนทีเดียวว่าทำไมมันต้องตีกัน คุโณปการของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ในความเห็นส่วนตัวของเราคือ ทำให้มองเห็น “ลิงที่มองไม่เห็น” หมายถึง ในความเข้าใจเดิมๆของคนในพื้นที่หรือคนทั่วไป อาจจะมองว่าลิงมีแค่ 2 กลุ่ม(ฝูง) ลิงตึกกับลิงศาลพระกาฬContinue reading “ลิง กับ คน : ไพรเมทวิทยาเชิงชาติพันธุ์ของลิงแสม”