ในทุกๆ 2 ปี กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านไพรเมตจากองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN SSC Primates Specialist Group) ร่วมกับสมาคมไพรเมตสากล (International Primatological Society) จะมีการจัดทำรายงานที่ชื่อว่า Primates in Peril The World’s 25 Most Endangered Primates โดยตัวรายงานได้จำแนกไพรเมตที่ใกล้สูญพันธ์จาก 4 ภูมิภาคของโลก สำหรับสถานการณ์ของเหล่าไพรเมตในปี 2022-2023 ลองมาดูแยกแต่ละภูมิภาคกันดีกว่าค ไพรเมตในเกาะมาดากัสการ์ 1.ลีเมอร์หนู มาดามเบิร์ธ ชื่อภาษาอังกฤษ Madame Berthe’s mouse lemur ชื่อวิทยาศาสตร์ Microcebus berthae ลักษณะสำคัญ พฤติกรรม และถิ่นที่อยู่ ลีเมอร์หนู มาดามเบิร์ธ ถือเป็นไพรเมตที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก มีความยาวตัวประมาณ 9.2 ซ.ม. น้ำหนักประมาณ30 กรัม มีพฤติกรรมหากินเพียงลำพังกินอาหารได้หลากหลายทั้งผลไม้ ดอกไม้ แมลงContinue reading “25 ชนิดพันธุ์ไพรเมต ที่ใกล้สูญพันธุ์ที่สุดในโลก ประจำปี 2022-2023”
Author Archives: Nan Ariratana
ลิงในงานศิลปกรรม : พาไปชมงานศิลปกรรมรูปลิงที่พิพิธฑภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
ลิงศึกษาในงานศิลปกรรม ในเว็บ primatethings.com และเพจพูดลิง ทำลิง พยายามจะนำเสนอเรื่องราวลิง ลิง ในหลากหลายมิติ ทั้งลิงในแง่ที่เป็นสิ่งมีชีวิตแสนซุกซน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับไพรเมต ลิง ในแง่การศึกษาพฤติกรรมของลิง ลิงในแง่ที่ปรากฎเป็นส่วนหนึ่งของวิวัฒนการมนุษย์ นอกจากนั้นแล้ว เราก็ยังอยากจะนำเสนออีกแง่มุมหนึ่งคือ ลิงที่ปรากฎตัวในรูปแบบของความเชื่อ ความเกี่ยวพันกับสังคมมนุษย์ และลิงที่ปรากฎตัวในงานศิลปกรรมแขนงต่างๆ โดยผู้เขียนจะขอถือโอกาสบรรจุซีรี่ส์ “ลิงในงานศิลปกรรม” เอาไว้ ในคอลัมน์ Primate Studies เพื่อเป็นการพาผู้อ่านไปชมความน่ารักของเหล่าวานร และรวบรวมแง่มุมความสัมพันธ์ที่มนุษย์มีต่อลิงและได้แสดงออกมาผ่านงานศิลปะ ซึ่งอาจสะท้อนถึงปฏิสัมพันธ์ที่มีต่อเพื่อนร่วมอันดับไพรเมต จากอดีตถึงปัจจุบัน ไปชมลิงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร วันนี้ Primatethings ขอเปิดซีรีส์ “ลิงในงานศิลปกรรม” โดยพาไปชมงานศิลปกรรมรูปลิงที่ปรากฎ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งแรกของประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2469 หรือเมื่อเกือบ 100 ปีมาแล้ว พื้นที่ของพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่บริเวณพระราชวังบวรสถาน หรือ วังหน้า ใกล้กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และ ท้องสนามหลวง ทางพิพิธภัณฑ์จัดแสดงงานศิลปกรรมชิ้นสำคัญของชาติที่เป็นถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมเอาไว้หลายแขนง ภายในประกอบไปด้วยอาคารจัดแสดงและห้องจัดแสดงหลายอาคาร อาทิเช่น อาคารมหาสรุสิงหนาท จัดแสดงนิทรรศการประวัติศาสตร์โบราณคดีก่อนพุทธศตวรรษที่ 18Continue reading “ลิงในงานศิลปกรรม : พาไปชมงานศิลปกรรมรูปลิงที่พิพิธฑภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร”
เมื่อชะนีไม่ได้ร้อง ผัว ผัว !
ชะนี นอกจากจะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในอันดับไพรเมตประเภทที่ไม่มีหาง ชอบห้อยโหนโยนตัวไปมาบนยอดไม้แล้ว ในคำสแลง ยังเป็นที่เข้าใจกันว่า “ชะนี” หมายถึง ผู้หญิงแท้ ซึ่งอาจมีที่มาว่าผู้หญิงแท้ อาจร้องเรียกหาผัว หรือแสดงความต้องการว่าอยากจะมีสามีมากๆอะไรทำนองนั้น อย่างไรก็ดี คำแสลง ก็เป็นคำเรียกที่นิยมเฉพาะกลุ่ม หรือเป็นที่นิยมเรียกในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น เมื่อเวลาผ่านไป ความนิยมอาจลดลงได้และถูกเลิกใช้ไปในที่สุด อะไรที่ทำให้ได้ยินว่าชะนีร้อง “ผัว ! ผัว !” ? ว่ากันว่าเสียงร้องของสัตว์ในต่ละภาษานั้น เรียกว่า สัทพจน์ หรือเสียงที่เลียนแบบเสียงธรรมชาติ แต่เสียงที่เลียนแบบเสียงธรรมชาติ ในแต่ละภาษานั้นมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับหน่วยพื้นฐานของเสียงในแต่ละภาษา ดังนั้น สัตว์ชนิดเดียวกันอาจจะร้องไม่เหมือนกันในแต่ละภาษาก็เป็นได้ เช่น สุนัขไทยอาจเห่าว่า “โฮ่ง โฮ่ง” สุนัขอังกฤษอาจเห่าว่า “วูฟ วูฟ” สุนัขญี่ปุ่นอาจเห่าว่า “วัน วัน” สุนัขอิตาเลี่ยนอาจเห่าว่า “เบา เบา” ชะนีก็เช่นกันเรายังไม่ทราบแน่ชัดว่าทำไม ในภาษาไทยเราถึงได้ยินชะนีร้องว่า “ผัว ผัว” แต่สำหรับในกลุ่มคนที่ใช้ภาษาอื่นนั้น ชะนีอาจจะร้องเป็นคำอื่นที่ไม่ใช่ “ผัว ผัว” ก็เป็นได้ ดังนั้นContinue reading “เมื่อชะนีไม่ได้ร้อง ผัว ผัว !”
ลิงกับค่างแตกต่างกันอย่างไร ?
“ลิง ค่าง บ่าง ชะนี” “ซนเป็นลิงเป็นค่าง” เพื่อนๆหลายคนอาจจะเคยได้ยินประโยคเหล่านี้ ที่คำว่า “ลิง” กับ “ค่าง” มักจะใช้ร่วมกันเป็นเป็นคำซ้อนในสำนวนไทย อย่างคำว่า “ลูกลิงลูกค่าง” ก็ใช้เป็นคำอุปมาเปรียบเทียบกับเด็กๆที่มีความซุกซน อยู่ไม่สุข และชอบปีนป่าย ลิง กับ ค่าง อาจจะดูเป็นสัตว์ที่หน้าตาคล้ายๆกัน ชนิดใกล้เคียงกัน และอาศัยอยู่บนต้นไม้เหมือนกัน แต่ในความเหมือนนั้น ก็มีความแตกต่างกันอยู่บ้าง แล้วทั้งลิง และ ค่าง นั้น แตกต่างกันตรงไหนบ้าง? สิ่งที่ต่างกันของลิงกับค่าง 1.การจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต หรือ อนุกรมวิธาน ทั้งลิง และ ค่าง เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับไพรเมตเหมือนกัน อยู่ในวงศ์ลิงโลกเก่าเหมือนกัน แต่ ต่างกันที่วงศ์ย่อย (Subfamily) คนละวงศ์ย่อยกัน ลิง จะอยู่ในวงศ์ย่อย Cercopithecinae ในขณะที่ค่าง อยู่ในวงศ์ย่อย Colobinae 2.ชื่อภาษาไทยต่างกัน ชื่อภาษาอังกฤษก็ต่างกัน คำว่า ลิง โดยทั่วไปในภาษาอังกฤษจะเรียกกว้างๆว่า Monkey แต่สำหรับค่างในภาษาอังกฤษContinue reading “ลิงกับค่างแตกต่างกันอย่างไร ?”
แนะนำหนังสือ : ลิงเปลือย
ลิงเปลือย แปลจาก The Naked Ape: A Zoologist’s Study of the Human Animal ผู้เขียน : Desmond Morris ผู้แปลและเรียบเรียง : มยูร วิเศษกุล พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ.2513 สำนักพิมพ์แพร่พิทยา มนุษย์ คือ ลิงเปลือย?!?!? The Naked Ape: A Zoologist’s Study of the Human Animal หรือชื่อหนังสือที่ถูกแปลงเป็นภาษาไทยว่า “ลิงเปลือย” ถูกเขียนขึ้นในปี ค.ศ.1967 (พ.ศ.2510) โดย Desmond Morris นักพฤติกรรมสัตว์และนักสัตววิทยา ชาวอังกฤษ ต่อมาถูกแปลเป็นภาษาไทยในปี พ.ศ.2513 ว่ากันว่าหนังสือเล่มนี้เป็นที่กล่าวถึงและได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางจนแปลไปถึง 23 ภาษาเลยทีเดียว หนังสือเล่มนี้เป็นการกล่าวถึงพฤติกรรมของมนุษย์นับตั้งแต่การวิวัฒนาการมาจากลิง จนถึงพฤติกรรมของมนุษย์ร่วมสมัย โดยการอธิบายว่ามนุษย์ก็คือลิงชนิดหนึ่งที่ขนสั้นกุดContinue reading “แนะนำหนังสือ : ลิงเปลือย”
จีนผสมเทียมค่างสามสีตัวแรกของโลก
ค่างสามสีผสมเทียมตัวแรกของโลก วันที่ 11 พฤศจิกายน 2021 สำนักข่าว Xinhua ของจีนรายงานว่าศูนย์วิจัยไพรเมตฉางหลง เมืองกว่างโจว มณฑลกวางตุ้ง ประสบความสำเร็จในการผสมเทียม ค่างสามสี (Black-shanked douc) ตัวแรกของโลก โดยค่างสามสีน้อยตัวนี้ได้ลืมตาดูโลก เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2021 ที่ผ่านมา เมื่อแรกคลอดค่างน้อยมีความจำเป็นต้องอยู่ในตู้อบประมาณ 2 เดือน และเมื่อมีอายุประมาณ 2 ปีครึ่งจึงจะสามารถปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติได้ภายใต้การดูแลและฝึกฝนของผู้เชี่ยวชาญ ค่างสามสี อีกหนึ่งไพรเมตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ใกล้สูญพันธุ์ ค่างสามสี มีชื่อสามัญว่า Black-shanked douc ชื่อวิทยาศาสตร์ Pygathrix nigripes มีถิ่นที่อยู่อาศัยอยู่บริเวณตอนกลางของเวียดนามฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ และบางส่วนของกัมพูชาด้านตะวันออก โดยอยู่อาศัยเป็นฝูแบบตัวเมียหลายตัว-ตัวผู้หลายตัว (multi male –multi-female group) ในป่าโปร่ง และ ป่าผลัดใบ เราจะเห็นว่าในเวียดนาม เป็นถิ่นที่อยู่ของ ค่างสามสี ค่างสี่สี และ ค่างห้าสี เรียงจำนวนสีกันเลยทีเดียวค่ะ แต่ว่าแต่ละชนิดพันธุ์นั้นอาจจะมีสีสันและถิ่นที่อยู่อาศัยต่างกันบ้าง ค่างสามสีContinue reading “จีนผสมเทียมค่างสามสีตัวแรกของโลก”
แนะนำหนังสือ : วานรศึกษา
ชื่อหนังสือ : วานรศึกษา บรรณาธิการโดย : ผศ.สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ และ ผศ.ดร.วรวิทย์ บุญไทย หน่วยงานผู้จัดพิมพ์ : คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และ ห้องปฏิบัติการมานุษยวิทยากายภาพและชาติพันธุ์วิทยา หนังสือวานรศึกษา ป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำนิทรรศการ Primate & Me ของพิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์ฯ แต่จะใช้คำว่าเป็นหนังสือ “ประกอบ” นั้น “ผิด” เนื่องจากไม่ได้เกิดจากการนำบทนิทรรศการหรือเนื้อหาภายในนิทรรศการมาเปิดเผยแต่อย่างใด เป็นแต่เพียงการรวมบทความที่ช่วยเล่าเรื่องการศึกษาเรื่องลิงในประเทศไทยให้ชัดเจนขึ้น ดังนั้น ใครจะมาชมนิทรรศการโดยไม่ชอบอ่านหนังสือ หรือ ใครที่ชอบอ่านหนังสือแต่ขี้เกียจมาชมนิทรรศการก็ได้ทั้งสิ้น แต่ถ้าจะใช้คำว่าหนังสืออันเนื่องด้วยการจัดทำนิทรรศการก็พอได้ โดยเนื้อหาของหนังสือนั้น เป็นการรวมบทความของนักวิชาการที่ศึกษาลิงในความหมายของนักวิทยาศาสตร์หรือนักชีววิทยา และ อีกส่วนหนึ่งเป็นบทความที่เขียนโดยนักมานุษยวิทยา นามกระเดื่องหลายท่าน ในฐานะที่ตนเองเป็นผู้สนใจเรื่องลิงเช่นกัน ฉันมองว่าเป็นหนังสือที่พยายามจะเชื่อมโลก 2 ใบเข้าไว้ด้วยกัน คือลิงในความหมายของสิ่งมีชีวิตที่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับ Primate และลิง ในฐานะที่เป็นมิติกับความข้องเกี่ยวกับความเป็นมนุษย์ ทั้งในแง่วิวัฒนาการของมนุษย์ การปรากฎตัวในวรรณกรรมทางศาสนา หรือมิติทางเพศของผู้ศึกษาลิง ดังนั้น หากจะพูดตรงๆอาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย ที่คน 1 คนContinue reading “แนะนำหนังสือ : วานรศึกษา”
การแสดงชุดจับลิงหัวค่ำ : ใครจับใคร? จับทำไม?
จับลิงหัวค่ำคืออะไร? แสดงเมื่อไหร่ ? ในการแสดงมหรสพไทยประเพณี เช่น หนังใหญ่ หรือ หนังตะลุงนั้น มักมีธรรมเนียมปฏิบัติก่อนการทำการแสดง โดยมีขั้นตอนเริ่มต้นด้วยการไหว้ครูหรือเบิกหน้าพระ ตามด้วยการแสดงเบิกโรง ในชุดสั้นๆ ก่อนที่จะเริ่มต้นการแสดงในเนื้อเรื่องยาวต่อไป การแสดง “จับลิงหัวค่ำ” หรือบ้างก็เรียกว่า “ลิงขาว ลิงดำ” เป็นการแสดงเบิกโรง หรือการแสดงเรียกน้ำย่อย ก่อนทำการแสดงชุดจริงต่อไป คาดว่าคำว่า “หัวค่ำ” น่าจะหมายถึง ช่วงเวลาที่ทำการแสดง คือ เริ่มต้นแสดงเมื่อหัวค่ำ ถือเป็นการแสดงโหมโรงเพื่อเรียกคนดูให้ทราบก่อนการแสดงจริงจะเริ่มขึ้น เรื่องย่อ จับลิงหัวค่ำ เนื้อเรื่องของการแสดงจับลิงหัวค่ำนั้น เป็นเรื่องสั้นๆ ที่ไม่ซับซ้อน ว่าด้วย ลิงขาว และ ลิงดำ เป็นเพื่อนกัน อาศัยอยู่ร่วมกันกับพระฤาษีในป่า มีหน้าที่ดูแลอุปัฐฐากพระฤาษี วันหนึ่ง ลิงดำเกิดเมามายขึ้นมา อาละวาดขว้างปาข้าวของ ลิงขาว จึงต้องทำหน้าที่ไล่จับลิงดำ ต่อสู้กันไปมาและพยายามจะนำเชือกมามัดลิงดำ เมื่อจับลิงดำได้ ก็พาลิงดำมาพบพระฤาษี โดยตอนแรกลิงขาวคิดว่าจะฆ่าลิงดำเสีย แต่พระฤาษีของบิณฑบาตรชีวิตไว้ บอกว่าควรให้อภัยเป็นทานและลิงดำก็ไม่ได้กระทำความผิดถึงขั้นสมควรแก่การเอาชีวิต แล้วพระฤาษีก็สั่งสอนลิงดำว่าให้กลับตัว กลับใจ เลิกประพฤติชั่วเสีย ผู้เขียนขอแทรกบทเสภาสำนวนของนายอำนาจContinue reading “การแสดงชุดจับลิงหัวค่ำ : ใครจับใคร? จับทำไม?”
ผจญภัยไปกับอมาดิโอ้
Primate thing today….. โมเดลฝาขวด รูปลิงขนสีขาวกำลังหาอะไรกินในจาน สปาเก๊ตตี้ทะเล ผจญภัยไปกับเจ้าอมาดิโอ้ โมเดลจิ๋วอันนี้มาจากอนิเมชั่นญี่ปุ่นเรื่อง 3000 Leagues in Search of Mother เป็นอนิเมชั่นในปี 1976 และต่อมาทำเป็นหนังในปี 1980 เป็นเรื่องราวของ เด็กชายมาร์โก้ อาศัยอยู่เมืองเจนัวร์ Italy ทางบ้านฐานะยากจน มีพ่อ แม่ พี่ชาย พ่อกับพี่ต้องทำงานหนัก ส่วนแม่ไปทำงานเป็นคนรับใช้อยู่อาเจนติน่า วันหนึ่ง มาร์โก้ ไม่ได้รับจดหมายจากแม่มา 2 เดือนแล้ว ก็กลัวแม่จะเป็นอะไรไป จึงขอออกไปตามหาแม่เพียงคนเดียวโดยมีเจ้าอมาดิโอ้ ลิงที่พี่ชายเลี้ยงไว้ไปเป็นเพื่อน (โธ่ !) เขาแอบหนีไปบนเรือสินค้าไปขึ้นท่าเรือที่บราซิล เสร็จแล้วทุลักทุเล ขี่ลา ต่อรถไฟ เดินเท้า สารพัดวิธีไปหาแม่ จนพบว่าแม่เขียน จ.ม.กลับอิตาลี แต่โดนลุงเอาไปทิ้ง สุดท้าบดั้นด้นไปจนพบแม่ พบว่าแม่ป่วยแต่ก็สุดท้ายได้อยู่ด้วยกันกับแม่ แต่เราไม่ได้ดูว่าสุดท้ายได้เดินทางกลับอิตาลีกันรึเปล่า แค่ต้นเรื่องก็เศร้าซะละ กลัวดูไปแล้วร้องไห้ สงสารน้องมาร์โก้ ลิงกินหอยในท้องเรื่องก็เป็นไปได้ที่เจ้าอมาดิโอ้จะกินสปาเก็ตตี้ทะเล เนื่องจากในเรื่องเกิดที่อิตาลีContinue reading “ผจญภัยไปกับอมาดิโอ้”
ศึกษาไพรเมตบนปกหนังสือ”ไพรเมตศึกษา”
Study Primate on the Primate Study Book Cover Primate Story teller : Nan Ariratana ใครเป็นใครบนปกหนังสือวานรศึกษา : หนังสือ “วานรศึกษา” เป็นหนังสือที่จัดทำขึ้นโดยพิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติร่วมกับห้องปฏิบัติการมานุษยวิทยากายภาพและชาติพันธุ์วิทยา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อประกอบการจีดนิทรรศการเรื่อง Primate and Me ของพิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ผู้เขียนเห็นว่าการออกแบบหน้าปกของหนังสือมีอะไรที่น่าสนใจซ่อนอยู่ วันนี้เราเลยขอแหวกม่านภาพศิลปะแบบตัดปะ (Collage Art) ดูหน่อยว่ามีไพรเมตอะไรซ่อนอยู่ในนั้นบ้าง อย่างไรก็ตามภาพดังกล่าวอาจจะยังไม่ใช่แบบ final ที่ทางคณะผู้จัดทำเลือกใช้ หากมีการจัดทำรฝูปเล่มแล้วเสร็จจะนำมาประชาสัมพันธ์ให้เพื่อนๆได้ทราบอีกครัั้ง เรามาเริ่มจากซ้ายไปขวาดีกว่า ตำแหน่งที่ 1 และตำแหน่งที่ 2 เราจะเห็นลิง 2 ตัว กำลังทำท่าปีนอยู่อีก 1 ตัว ส่วนอีกตัวนั่งถืออะไรสักอย่างอยู่ในมือ ทั้ง 2 ตัวมีสีคล้ายคลึงกันคือสีน้ำตาลแดง ลิงทั้งสองมาจากหนังสือชื่อ Naturhistorische Abbildungen der Saugethiere (NaturalContinue reading “ศึกษาไพรเมตบนปกหนังสือ”ไพรเมตศึกษา””