ลิงในงานศิลปกรรม : พาไปชมงานศิลปกรรมรูปลิงที่พิพิธฑภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร

ลิงศึกษาในงานศิลปกรรม ในเว็บ primatethings.com และเพจพูดลิง ทำลิง พยายามจะนำเสนอเรื่องราวลิง ลิง ในหลากหลายมิติ ทั้งลิงในแง่ที่เป็นสิ่งมีชีวิตแสนซุกซน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับไพรเมต ลิง ในแง่การศึกษาพฤติกรรมของลิง ลิงในแง่ที่ปรากฎเป็นส่วนหนึ่งของวิวัฒนการมนุษย์ นอกจากนั้นแล้ว เราก็ยังอยากจะนำเสนออีกแง่มุมหนึ่งคือ ลิงที่ปรากฎตัวในรูปแบบของความเชื่อ ความเกี่ยวพันกับสังคมมนุษย์ และลิงที่ปรากฎตัวในงานศิลปกรรมแขนงต่างๆ โดยผู้เขียนจะขอถือโอกาสบรรจุซีรี่ส์ “ลิงในงานศิลปกรรม” เอาไว้ ในคอลัมน์ Primate Studies เพื่อเป็นการพาผู้อ่านไปชมความน่ารักของเหล่าวานร และรวบรวมแง่มุมความสัมพันธ์ที่มนุษย์มีต่อลิงและได้แสดงออกมาผ่านงานศิลปะ ซึ่งอาจสะท้อนถึงปฏิสัมพันธ์ที่มีต่อเพื่อนร่วมอันดับไพรเมต จากอดีตถึงปัจจุบัน ไปชมลิงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร วันนี้ Primatethings ขอเปิดซีรีส์ “ลิงในงานศิลปกรรม” โดยพาไปชมงานศิลปกรรมรูปลิงที่ปรากฎ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งแรกของประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2469 หรือเมื่อเกือบ 100 ปีมาแล้ว พื้นที่ของพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่บริเวณพระราชวังบวรสถาน หรือ วังหน้า ใกล้กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และ ท้องสนามหลวง ทางพิพิธภัณฑ์จัดแสดงงานศิลปกรรมชิ้นสำคัญของชาติที่เป็นถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมเอาไว้หลายแขนง ภายในประกอบไปด้วยอาคารจัดแสดงและห้องจัดแสดงหลายอาคาร อาทิเช่น อาคารมหาสรุสิงหนาท จัดแสดงนิทรรศการประวัติศาสตร์โบราณคดีก่อนพุทธศตวรรษที่ 18Continue reading “ลิงในงานศิลปกรรม : พาไปชมงานศิลปกรรมรูปลิงที่พิพิธฑภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร”

การแสดงชุดจับลิงหัวค่ำ : ใครจับใคร? จับทำไม?

จับลิงหัวค่ำคืออะไร? แสดงเมื่อไหร่ ? ในการแสดงมหรสพไทยประเพณี เช่น หนังใหญ่ หรือ หนังตะลุงนั้น มักมีธรรมเนียมปฏิบัติก่อนการทำการแสดง โดยมีขั้นตอนเริ่มต้นด้วยการไหว้ครูหรือเบิกหน้าพระ ตามด้วยการแสดงเบิกโรง ในชุดสั้นๆ ก่อนที่จะเริ่มต้นการแสดงในเนื้อเรื่องยาวต่อไป การแสดง “จับลิงหัวค่ำ” หรือบ้างก็เรียกว่า “ลิงขาว ลิงดำ” เป็นการแสดงเบิกโรง หรือการแสดงเรียกน้ำย่อย ก่อนทำการแสดงชุดจริงต่อไป คาดว่าคำว่า “หัวค่ำ” น่าจะหมายถึง ช่วงเวลาที่ทำการแสดง คือ เริ่มต้นแสดงเมื่อหัวค่ำ ถือเป็นการแสดงโหมโรงเพื่อเรียกคนดูให้ทราบก่อนการแสดงจริงจะเริ่มขึ้น เรื่องย่อ จับลิงหัวค่ำ เนื้อเรื่องของการแสดงจับลิงหัวค่ำนั้น เป็นเรื่องสั้นๆ ที่ไม่ซับซ้อน ว่าด้วย ลิงขาว และ ลิงดำ เป็นเพื่อนกัน อาศัยอยู่ร่วมกันกับพระฤาษีในป่า มีหน้าที่ดูแลอุปัฐฐากพระฤาษี วันหนึ่ง ลิงดำเกิดเมามายขึ้นมา อาละวาดขว้างปาข้าวของ ลิงขาว จึงต้องทำหน้าที่ไล่จับลิงดำ ต่อสู้กันไปมาและพยายามจะนำเชือกมามัดลิงดำ เมื่อจับลิงดำได้ ก็พาลิงดำมาพบพระฤาษี โดยตอนแรกลิงขาวคิดว่าจะฆ่าลิงดำเสีย แต่พระฤาษีของบิณฑบาตรชีวิตไว้ บอกว่าควรให้อภัยเป็นทานและลิงดำก็ไม่ได้กระทำความผิดถึงขั้นสมควรแก่การเอาชีวิต แล้วพระฤาษีก็สั่งสอนลิงดำว่าให้กลับตัว กลับใจ เลิกประพฤติชั่วเสีย ผู้เขียนขอแทรกบทเสภาสำนวนของนายอำนาจContinue reading “การแสดงชุดจับลิงหัวค่ำ : ใครจับใคร? จับทำไม?”

ผจญภัยไปกับอมาดิโอ้

Primate thing today….. โมเดลฝาขวด รูปลิงขนสีขาวกำลังหาอะไรกินในจาน สปาเก๊ตตี้ทะเล ผจญภัยไปกับเจ้าอมาดิโอ้ โมเดลจิ๋วอันนี้มาจากอนิเมชั่นญี่ปุ่นเรื่อง 3000 Leagues in Search of Mother เป็นอนิเมชั่นในปี 1976 และต่อมาทำเป็นหนังในปี 1980 เป็นเรื่องราวของ เด็กชายมาร์โก้ อาศัยอยู่เมืองเจนัวร์ Italy ทางบ้านฐานะยากจน มีพ่อ แม่ พี่ชาย พ่อกับพี่ต้องทำงานหนัก ส่วนแม่ไปทำงานเป็นคนรับใช้อยู่อาเจนติน่า วันหนึ่ง มาร์โก้ ไม่ได้รับจดหมายจากแม่มา 2 เดือนแล้ว ก็กลัวแม่จะเป็นอะไรไป จึงขอออกไปตามหาแม่เพียงคนเดียวโดยมีเจ้าอมาดิโอ้ ลิงที่พี่ชายเลี้ยงไว้ไปเป็นเพื่อน (โธ่ !) เขาแอบหนีไปบนเรือสินค้าไปขึ้นท่าเรือที่บราซิล เสร็จแล้วทุลักทุเล ขี่ลา ต่อรถไฟ เดินเท้า สารพัดวิธีไปหาแม่ จนพบว่าแม่เขียน จ.ม.กลับอิตาลี แต่โดนลุงเอาไปทิ้ง สุดท้าบดั้นด้นไปจนพบแม่ พบว่าแม่ป่วยแต่ก็สุดท้ายได้อยู่ด้วยกันกับแม่ แต่เราไม่ได้ดูว่าสุดท้ายได้เดินทางกลับอิตาลีกันรึเปล่า แค่ต้นเรื่องก็เศร้าซะละ กลัวดูไปแล้วร้องไห้ สงสารน้องมาร์โก้ ลิงกินหอยในท้องเรื่องก็เป็นไปได้ที่เจ้าอมาดิโอ้จะกินสปาเก็ตตี้ทะเล เนื่องจากในเรื่องเกิดที่อิตาลีContinue reading “ผจญภัยไปกับอมาดิโอ้”

ศึกษาไพรเมตบนปกหนังสือ”ไพรเมตศึกษา”

Study Primate on the Primate Study Book Cover Primate Story teller : Nan Ariratana ใครเป็นใครบนปกหนังสือวานรศึกษา : หนังสือ “วานรศึกษา” เป็นหนังสือที่จัดทำขึ้นโดยพิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติร่วมกับห้องปฏิบัติการมานุษยวิทยากายภาพและชาติพันธุ์วิทยา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อประกอบการจีดนิทรรศการเรื่อง Primate and Me ของพิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ  ผู้เขียนเห็นว่าการออกแบบหน้าปกของหนังสือมีอะไรที่น่าสนใจซ่อนอยู่ วันนี้เราเลยขอแหวกม่านภาพศิลปะแบบตัดปะ (Collage Art) ดูหน่อยว่ามีไพรเมตอะไรซ่อนอยู่ในนั้นบ้าง อย่างไรก็ตามภาพดังกล่าวอาจจะยังไม่ใช่แบบ final ที่ทางคณะผู้จัดทำเลือกใช้ หากมีการจัดทำรฝูปเล่มแล้วเสร็จจะนำมาประชาสัมพันธ์ให้เพื่อนๆได้ทราบอีกครัั้ง เรามาเริ่มจากซ้ายไปขวาดีกว่า ตำแหน่งที่ 1 และตำแหน่งที่ 2 เราจะเห็นลิง 2 ตัว กำลังทำท่าปีนอยู่อีก 1 ตัว ส่วนอีกตัวนั่งถืออะไรสักอย่างอยู่ในมือ ทั้ง 2 ตัวมีสีคล้ายคลึงกันคือสีน้ำตาลแดง ลิงทั้งสองมาจากหนังสือชื่อ Naturhistorische Abbildungen der Saugethiere (NaturalContinue reading “ศึกษาไพรเมตบนปกหนังสือ”ไพรเมตศึกษา””

สังคมและการเมืองของวานร

Sociality & Politics in Non-human primates Primate Story teller : nan Ariratana 1.Planet of the ape : โลก สังคม การเมือง ของวานร 1.1 Planet of the ape: บุกพิภพมนุษย์วานร ภาพยนตร์ Sci-fi เรื่อง Planet of the ape เวอร์ชั่นดั้งเดิมที่ดัดแปลงมาจากวรรณกรรมเรื่อง La Planete des Singes (1963) ของนักเขียนชาวฝรั่งเศสที่ชื่อ Pierre Boulle เขาใช้เวลาเขียนนวนิยายเรื่องนี้เป็นเวลา 6 เดือน หลังจากที่เขาได้สังเกตการแสดงออกที่คล้ายคลึงกับมนุษย์ของกอริลล่าในสวนสัตว์มาเป็นแรงบันดาลใจในการเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับวานร[1]  วรรณกรรมเรื่องนี้ได้ถูกดัดแปลงมาเป็นภาพยนตร์ที่มีภาคต่อถึง 5 ภาค ออกฉายระหว่างปี 1968-1973  ต่อมาในปี 2001 PlanetContinue reading “สังคมและการเมืองของวานร”

เรื่องรักๆ เรื่องลับๆ ของวานร

Love & Sex in non-human primates Primate Story teller : Nan Ariratana 1.เรื่องรัก รัก ของวานร           มีบทกวี บทเพลง วรรณกรรมมากมายที่อุทิศให้ความรัก ตลอดจนความพยายามที่จะให้นิยาม ความหมายของคำว่ารักที่หลากหลายและกว้างไกล ดูเหมือนว่าความรักจะเป็นอารมณ์ความรู้สึกที่มีผลกระทบต่อสภาพจิตใจ ความรับรู้ และการกระทำของมนุษย์ไม่น้อย เพราะความรักประกอบไปด้วยอารมณ์ ความรู้สึก และการกระทำอื่นๆที่ซับซ้อนทั้งความพึงพอใจ ความใกล้ชิด ความผูกพันความสัมพันธ์ต่อกัน การตีความการกระทำ คำพูดระหว่างกันที่ไม่รู้จบสิ้น  ไม่เพียงแต่ในด้านอรมณ์ ความรู้สึกเท่านั้น ความรัก เป็นเหมือนกลไกขับเคลื่อนระบบสืบพันธุ์ของมนุษย์ ในอันที่จะสืบเผ่าพันธุ์และส่งต่อ DNA ของตนเองต่อไป อาจไม่เกินเลยไปนัก หากจะกล่าวว่าพฤติกรรมและการกระทำหลายๆอย่างของมนุษย์เกิดจากแรงขับทางเพศที่เป็นสัญชาติญาณพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตโดยทั่วไป           ความรัก อาจเป็นความรู้สึกที่เป็นนามธรรม เป็นของขวัญ หรือคำสาปที่พิเศษสำหรับมนุษย์  โดยมนุษย์อุทิศเวลา และความสิ้นเปลืองทางอารมณ์มอบให้แก่สิ่งที่เรียกว่าความรัก แต่สำหรับการสืบพันธุ์แล้ว ไม่ได้เป็นกระบวนการพิเศษที่เกิดขึ้นแต่ในร่างกายของมนุษย์เท่านั้น ญาติที่ใกล้ชิดของเรา บรรดาสมาชิกในอันดับไพรเมต ก็มีการแสดงออกและเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ที่น่าสนใจ แม้เราจะไม่สามารถตอบได้ว่าลิงนั้นรักกันหรือเปล่า แตเราอาจพอตอบได้ว่าลิง เป็นสัตว์ที่มีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างใกล้ชิดContinue reading “เรื่องรักๆ เรื่องลับๆ ของวานร”

ลิงน้อยจอมซนในภาพกาก

Naughty Monkeys in Vessantara Jātaka Painting Primate Story teller : Nan Ariratana เมื่อพูดถึงวรรณกรรมในพุทธศาสนาเรื่อง มหาเวสสันดรชาดก ก็คงพอจะเป็นที่คุ้นหูของชาวพุทธในประเทศไทยเป็นอย่างดี เนื่องด้วยเป็นการกล่าวถึงการบำเพ็ญเพียรสะสมบารมีเป็นชาติสุดท้ายของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน หรือ พระโคตมพุทธเจ้ามหาเวสสันดรชาดก ปรากฎ เรื่องราวผ่านทั้งทางวรรณกรรม เช่น มหาชาติคำหลวง จิตรกรรม เช่น จิตกรรมฝสผนังตามอุโบสถของวัดต่างๆ และ พิธีกรรม เช่น พิธีเทศน์มหาชาติที่นิยมจัดขึ้นหลังฤดูกาลทอดกฐิน พุทธศาสนิกชนมีความเชื่อว่าหากฟังเทศน์มหาชาติครบทั้ง 13 กัณฑ์จะได้กุศลแรง ได้ไปเกิดใหม่ในศาสนาของพระศรีอาริย์ ผู้เขียนได้มีโอกาสไปเยือนวัดขุนตรา จ.เพชรบุรี พบว่าทางวัดมีงานจิตรกรรมสีฝุ่น บนแผ่นไม้ ที่ว่าด้วยเรื่องมหาเวสสันดรชาดก ทั้ง 13 กัณฑ์ ถือเป็นงานศิลปกรรมที่ทรงคุณค่าและงดงามมาก  ภาพเหล่านี้ถูกวาดขึ้นโดยครูเลิศ พ่วงพระเดช (2437-2513)  ศิลปินด้านพุทธศิลป์คนสำคัญในจังหวัดเพชรบุรี โดยมีจุดประสงค์การสร้างภาพจิตรกรรมเหล่านี้เพื่อประดับตกแต่งสถานที่ในกรณีที่ทางวัดจัดงานเทศน์มหาชาติ แต่สาายตาของผู้เขียนนั้น จะไวเป็นพิเศษเมื่อเห็น “ลิง” แอบซ่อนอยู่ตรงไหนก็ตาม วันนี้ผู้เขียนก็เลยอยากพาไปชมเหล่าลิงน้อยที่ปรากฎตัวในภาพวาดดังกล่าว เหล่าลิงน้อยแสนซุกซน ปรากฎในรูปภาพจิตรกรรมสีฝุ่นบนแผ่นไม้ แบบของภาพกากContinue reading “ลิงน้อยจอมซนในภาพกาก”