จับลิงหัวค่ำคืออะไร? แสดงเมื่อไหร่ ? ในการแสดงมหรสพไทยประเพณี เช่น หนังใหญ่ หรือ หนังตะลุงนั้น มักมีธรรมเนียมปฏิบัติก่อนการทำการแสดง โดยมีขั้นตอนเริ่มต้นด้วยการไหว้ครูหรือเบิกหน้าพระ ตามด้วยการแสดงเบิกโรง ในชุดสั้นๆ ก่อนที่จะเริ่มต้นการแสดงในเนื้อเรื่องยาวต่อไป การแสดง “จับลิงหัวค่ำ” หรือบ้างก็เรียกว่า “ลิงขาว ลิงดำ” เป็นการแสดงเบิกโรง หรือการแสดงเรียกน้ำย่อย ก่อนทำการแสดงชุดจริงต่อไป คาดว่าคำว่า “หัวค่ำ” น่าจะหมายถึง ช่วงเวลาที่ทำการแสดง คือ เริ่มต้นแสดงเมื่อหัวค่ำ ถือเป็นการแสดงโหมโรงเพื่อเรียกคนดูให้ทราบก่อนการแสดงจริงจะเริ่มขึ้น เรื่องย่อ จับลิงหัวค่ำ เนื้อเรื่องของการแสดงจับลิงหัวค่ำนั้น เป็นเรื่องสั้นๆ ที่ไม่ซับซ้อน ว่าด้วย ลิงขาว และ ลิงดำ เป็นเพื่อนกัน อาศัยอยู่ร่วมกันกับพระฤาษีในป่า มีหน้าที่ดูแลอุปัฐฐากพระฤาษี วันหนึ่ง ลิงดำเกิดเมามายขึ้นมา อาละวาดขว้างปาข้าวของ ลิงขาว จึงต้องทำหน้าที่ไล่จับลิงดำ ต่อสู้กันไปมาและพยายามจะนำเชือกมามัดลิงดำ เมื่อจับลิงดำได้ ก็พาลิงดำมาพบพระฤาษี โดยตอนแรกลิงขาวคิดว่าจะฆ่าลิงดำเสีย แต่พระฤาษีของบิณฑบาตรชีวิตไว้ บอกว่าควรให้อภัยเป็นทานและลิงดำก็ไม่ได้กระทำความผิดถึงขั้นสมควรแก่การเอาชีวิต แล้วพระฤาษีก็สั่งสอนลิงดำว่าให้กลับตัว กลับใจ เลิกประพฤติชั่วเสีย ผู้เขียนขอแทรกบทเสภาสำนวนของนายอำนาจContinue reading “การแสดงชุดจับลิงหัวค่ำ : ใครจับใคร? จับทำไม?”