สังคมและการเมืองของวานร

Sociality & Politics in Non-human primates Primate Story teller : nan Ariratana 1.Planet of the ape : โลก สังคม การเมือง ของวานร 1.1 Planet of the ape: บุกพิภพมนุษย์วานร ภาพยนตร์ Sci-fi เรื่อง Planet of the ape เวอร์ชั่นดั้งเดิมที่ดัดแปลงมาจากวรรณกรรมเรื่อง La Planete des Singes (1963) ของนักเขียนชาวฝรั่งเศสที่ชื่อ Pierre Boulle เขาใช้เวลาเขียนนวนิยายเรื่องนี้เป็นเวลา 6 เดือน หลังจากที่เขาได้สังเกตการแสดงออกที่คล้ายคลึงกับมนุษย์ของกอริลล่าในสวนสัตว์มาเป็นแรงบันดาลใจในการเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับวานร[1]  วรรณกรรมเรื่องนี้ได้ถูกดัดแปลงมาเป็นภาพยนตร์ที่มีภาคต่อถึง 5 ภาค ออกฉายระหว่างปี 1968-1973  ต่อมาในปี 2001 PlanetContinue reading “สังคมและการเมืองของวานร”

แม่ลูกกลางหิมะ

Primate thing today…..โมเดลแม่ลูกลิงกังญี่ปุ่น อยู่ตรงไหนก็ปรับตัวตรงนั้น ลิง ชนิดต่างๆ ถือเป็น เป็นสัตว์ที่มีถิ่นที่อยู่อันหลากหลาย ว่ากันว่าลิงกังญี่ปุ่น (Japanese macaque) ชื่อวิทยาศาสตร์ Macaca fuscata เป็นสิ่งมีชีวิตในอันดับ primate ที่อยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรมากที่สุด (ถ้าไม่นับมนุษย์) แต่จริงๆแล้วก็มีการกระจายตัวอยู่ทั่วทั้งโซนเหนือจรดใต้ ใครอยู่ตรงไหนก็ปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ตรงนั้นไม่ว่าคนหรือสัตว์ อย่างกรณีลิงกังญี่ปุ่น มีการปรับตัวทางด้านร่างกาย เช่น การมีขนหนา 2 ชั้น เหมือนผ้าห่มอุ่นๆ และมีหางสั้นกุด เพื่อลดพื้นที่การถูกหิมะกัด ในด้านพฤติกรรม พวกที่อยู่เหนือและหนาวมากๆก็ไปแช่บ่อน้ำร้อนซะ บางพวกเรียนรู้ที่จะปั้น snow ball เขวี้ยงกันสนุกสนานและไม่นิยมที่จะต่อสู้กันเนื่องจากประหยัดพลังงาน ส่วนพวกที่อยู่ทางใต้ใกล้ทะเลก็เรียนรู้ที่จะจุ่มหัวมันกับน้ำทะเลกิน ซึ่งเกิดจากการเลีบนแบบพฤติกรรมซึ่งกันและกัน และเรียนรู้แม้กระทั่งการจับปลา ปริศนาธรรมจากลิงญี่ปุ่น ในญี่ปุ่นเชื่อว่าลิงคือสื่อกลางระหว่างสวรรค์กับมนุษย์ หลายคนคงจะเห็นรูปปั้นลิง 3 ตัวที่ปิดตา ปิดหู ปิดปาก เป็นปริศนาธรรมที่สื่อถึง “การไม่รับรู้โดยการมองในสิ่งที่ไม่ดี การไม่ฟังในสิ่งที่ไม่ดี และการไม่กล่าววาจาในสิ่งที่ไม่ดี” โดยปริศนาธรรมนี้มีถิ่นกำเนิดจากภาพแกะสลักไม้ที่ศาลเจ้าชินโต ชื่อศาลนิกโกโทโช เมืองนิกโก แล้วทำไมต้องเป็นลิงด้วย? (แน่นอนว่าลิงที่แกะสลักมาต้องเลียนแบบมาจากลิงกังญี่ปุ่น) แล้วทำไมไม่เป็นสัตว์อื่นๆล่ะContinue reading “แม่ลูกกลางหิมะ”