ล.ลิง ทำรัง

Primate thing today…..กาชาปองอุรังอุตังหลับ ซีรี่ส์กาชาปองนี้ เป็นซีรี่ส์เกี่ยวกับสัตว์หลับ เราจึงเลือกเก็บเฉพาะไพรเมตหลับ พอพูดถึง “ลิงหลับ” ถ้าเป็นสำนวน พูดจนลิงหลับ ก็แปลว่า พูดคล่องจนผู้ฟังเคลิ้มไปตาม แต่ถ้าเป็นลิงในธรรมชาติหลับจริงๆพบว่า วานรบางชนิดก่อนจะหลับมีการทำรังด้วย ! เมื่อพูดคำว่า ทำรัง (Nesting) ก็จะนึกถึงนกตัวน้อยๆที่ทำรัง ออกลูก เลี้ยงลูก แต่จริงๆแล้วพวกไพรเมตนี่ก็ทำรังกะเขาเหมือนกันนะ การทำรังในไพรเมตพบเฉพาะพวก วงศ์ย่อย Strepsirrhini (ลีเมอร์ ลิงลม อายอาย) กับพวก Hominidae (Great ape+มนุษย์) เท่านั้น สำหรับพวกลิงโลกเก่า (ลิงทั่วไปที่เรารู้จัก) / ลิงโลกใหม่ไม่ทำรังเลย สำหรับรังของพวก ลิงลม และ ลีเมอร์ขนาดเล็กจิ๋ว เช่น ลีเมอร์หนู พอเข้าใจได้ว่าอาศัยอยู่บนต้นไม้หรือโพรงไม้และเป็นสัตว์กลางคืน บางครั้งจำเป็นต้องฝากลูกไว้ในโพรงหรือในรังเพื่อความอยู่รอดของทารก บางครั้งก็ไม่ได้อยู่ครอบครัวเดียว ในบางรังมีตัวเมีย 2 ตัวและต่างก็เลี้ยงลูกของตน ในบางรังตัวผู้ 1 ตัวอยู่กับตัวเมียหลายตัว (polygamy) ก็มี แต่อย่างไรก็ตามพวกลีเมอร์ใหญ่Continue reading “ล.ลิง ทำรัง”

ลิงไร้หางผู้อยากเป็นคน

Primate thing today…..ตุ๊กตา King Louie จากภาพยนตร์ The Jungle Book ราชาลูอี้ในภาพยนตร์เมาคลีลูกหมาป่า ราชาลูอี้ ปรากฎตัวในหนังเรื่อง The Jungle Book (คนไทยรู้จักในนามของนิทานเมาคลีลูกหมาป่า) ของค่าย Disney ซึ่งแต่เดิม The Jungle Book เวอร์ชั่นที่เป็นวรรณกรรม ประพันธ์โดย Rudyard Kipling นักประพันธ์ชาวอังกฤษนั้น ไม่มีตัวละครนี้ เพิ่งจะมีตัวละครนี้เมื่อค่าย Disney พัฒนาโครงเรื่องเพื่อเป็นภาพยนตร์การ์ตูน ในปี 1967 พากษ์เสียงโดย Louis Prima นักร้อง jazz ชาวอิตาเลี่ยนอเมริกัน ว่ากันว่าแต่เดิม ทาง Disney อยากให้นักร้อง jazz ที่โด่งดังในยุค 60’s อย่าง Louis Armstrong เป็นผู้พากษ์เสียง แต่ทางบริษัทเกรงจะเกิดดราม่าว่า หากเอาคนอเมริกันผิวดำมาให้เสียง “ลิง” เดี๋ยวจะเกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นการดูถูกหรือแบ่งแยก (คนขาว/คนดำ)Continue reading “ลิงไร้หางผู้อยากเป็นคน”

ลิง กับ คน : ไพรเมทวิทยาเชิงชาติพันธุ์ของลิงแสม

Book Review… วิทยานิพนธ์ลิง กับ คน : ไพรเมทวิทยาเชิงชาติพันธุ์ของลิงแสม ณ ต.ท่าหิน อ.เมือง จ.ลพบุรี โดย เวทัส โพธารามิก วันนี้ขอเขียนถึงหนังสือหนึ่งเล่มที่มีความน่าสนใจมาก สำหรับคนที่มีความสนใจศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับลิง ซึ่งอันที่จริงไม่ใช่หนังสือเล่ม แต่เป็นวิทยานิพนธ์ ระดับมหาบัณฑิต สาขามานุษยวิทยา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ของ เวทัส โพธารามิก เรื่อง ไพรเมทวิทยาเชิงชาติพันธุ์ของลิงแสม (Macaca fascicularis) ณ ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี สมัยก่อนนู้น ตอนที่วิทยานิพนธ์เล่มนี้ออกมาใหม่ๆ (2556) ประเด็นเรื่องลิงลพบุรีตีกัน ก็อาจเป็นที่รับรู้ของคนในท้องถิ่นอยู่แล้ว แต่ว่ามันอาจจะยังไม่ได้นำเสนอผ่านสื่อหลัก ที่นำข่าวลิงตีกันมาเล่นเป็นสกู๊ปข่าวบ้าง หรือตัดมาเป็นคลิปหรือ meme ขำๆตามเพจบ้าง แต่ตอนนี้ความรับรู้เรื่องลิงลพบุรีตีกันมันกว้างออกไปจากคนในท้องถิ่น เราก็เลยคิดว่าวิทยานิพนธ์เล่มนี้ ช่วยให้เห็นคำตอบที่ชัดเจนทีเดียวว่าทำไมมันต้องตีกัน คุโณปการของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ในความเห็นส่วนตัวของเราคือ ทำให้มองเห็น “ลิงที่มองไม่เห็น” หมายถึง ในความเข้าใจเดิมๆของคนในพื้นที่หรือคนทั่วไป อาจจะมองว่าลิงมีแค่ 2 กลุ่ม(ฝูง) ลิงตึกกับลิงศาลพระกาฬContinue reading “ลิง กับ คน : ไพรเมทวิทยาเชิงชาติพันธุ์ของลิงแสม”

เจ้าเกร็ดหิมะ กอริลลาเผือก

Primate thing today….. โมเดลแม่ลูกกอริลล่าเผือก  โดยปกติกอริลล่าทั่วไปมีขนสีดำปลอด ในฝูงหนึ่งจะมีเพศผู้โตเต็มวัยหรือตัวที่เป็นเป็นจ่าฝูงที่มีขนสีเทาข้างหลัง ที่เรียกกันว่า silverback หรือพวกหลังเงิน ส่วนตัวผู้ที่ยังไม่โตเต็มวัยเรียกว่าพวก black back สำหรับกอริลล่าเผือกพบน้อยมากในธรรมชาติ ซึ่งหากอยู่ในป่าลึกจริงๆก็คงไม่มีใครรู้ แต่มีกอริลล่าเผือก 1 ตัวที่โด่งดังมากในประวัติศาสตร์ ชื่อว่าเจ้า Snowflake เป็นกอริลล่าเพศผู้ สโนว์เฟลค เป็นกอริลล่า พันธุ์ย่อย “Western Lowland” ถูกจับมาโดยชาวบ้านในป่าของประเทศกินี่ และสุดท้ายถูกขายต่อให้แก่สวนสัตว์บาร์เซโลน่า ในสเปน ตั้งแต่ช่วง ปี 1967 ด้วยความที่มีสภาวะผิวเผือก สโนว์เฟลค จึงมีปัญหาในการมองเห็นที่ไม่ค่อยชัดเจน และสุดท้ายก็เสียชีวิตลงด้วยวัยประมาณ 38 หรือ 40 ปี (จากการกะอายุโดยประมาณ) จากโรคมะเร็งผิวหนัง สโนว์เฟลค มีลูก 21 ตัว หลาน 21 ตัว มีเหลนอีกจำนวนหนึ่ง หากคิดอีกแง่หนึ่งว่า การมาอยู่สวนสัตว์ก็ทำให้มันมีชีวิตยืนยาวตามสมควร แต่หากมันถูกฆ่าตายตั้งแต่ยังเด็กเพื่อตัดอวัยวะโดยเฉพาะกับคนที่คิดว่าอวัยวะของพวกคนผิวเผือก หรือ ลิงผิวเผือกเป็นยา โลกนี้ก็คงไม่มีโอกาสพบเห็นกอริลล่าเผือกและมันก็คงตายไปเงียบๆตั้งแต่อายุยังน้อยเพื่อทำยาให้คนที่คิดว่ากินของแปลกๆแล้วอายุจะยืนยาวขึ้นContinue reading “เจ้าเกร็ดหิมะ กอริลลาเผือก”

สังคมและการเมืองของวานร

Sociality & Politics in Non-human primates Primate Story teller : nan Ariratana 1.Planet of the ape : โลก สังคม การเมือง ของวานร 1.1 Planet of the ape: บุกพิภพมนุษย์วานร ภาพยนตร์ Sci-fi เรื่อง Planet of the ape เวอร์ชั่นดั้งเดิมที่ดัดแปลงมาจากวรรณกรรมเรื่อง La Planete des Singes (1963) ของนักเขียนชาวฝรั่งเศสที่ชื่อ Pierre Boulle เขาใช้เวลาเขียนนวนิยายเรื่องนี้เป็นเวลา 6 เดือน หลังจากที่เขาได้สังเกตการแสดงออกที่คล้ายคลึงกับมนุษย์ของกอริลล่าในสวนสัตว์มาเป็นแรงบันดาลใจในการเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับวานร[1]  วรรณกรรมเรื่องนี้ได้ถูกดัดแปลงมาเป็นภาพยนตร์ที่มีภาคต่อถึง 5 ภาค ออกฉายระหว่างปี 1968-1973  ต่อมาในปี 2001 PlanetContinue reading “สังคมและการเมืองของวานร”

เรื่องรักๆ เรื่องลับๆ ของวานร

Love & Sex in non-human primates Primate Story teller : Nan Ariratana 1.เรื่องรัก รัก ของวานร           มีบทกวี บทเพลง วรรณกรรมมากมายที่อุทิศให้ความรัก ตลอดจนความพยายามที่จะให้นิยาม ความหมายของคำว่ารักที่หลากหลายและกว้างไกล ดูเหมือนว่าความรักจะเป็นอารมณ์ความรู้สึกที่มีผลกระทบต่อสภาพจิตใจ ความรับรู้ และการกระทำของมนุษย์ไม่น้อย เพราะความรักประกอบไปด้วยอารมณ์ ความรู้สึก และการกระทำอื่นๆที่ซับซ้อนทั้งความพึงพอใจ ความใกล้ชิด ความผูกพันความสัมพันธ์ต่อกัน การตีความการกระทำ คำพูดระหว่างกันที่ไม่รู้จบสิ้น  ไม่เพียงแต่ในด้านอรมณ์ ความรู้สึกเท่านั้น ความรัก เป็นเหมือนกลไกขับเคลื่อนระบบสืบพันธุ์ของมนุษย์ ในอันที่จะสืบเผ่าพันธุ์และส่งต่อ DNA ของตนเองต่อไป อาจไม่เกินเลยไปนัก หากจะกล่าวว่าพฤติกรรมและการกระทำหลายๆอย่างของมนุษย์เกิดจากแรงขับทางเพศที่เป็นสัญชาติญาณพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตโดยทั่วไป           ความรัก อาจเป็นความรู้สึกที่เป็นนามธรรม เป็นของขวัญ หรือคำสาปที่พิเศษสำหรับมนุษย์  โดยมนุษย์อุทิศเวลา และความสิ้นเปลืองทางอารมณ์มอบให้แก่สิ่งที่เรียกว่าความรัก แต่สำหรับการสืบพันธุ์แล้ว ไม่ได้เป็นกระบวนการพิเศษที่เกิดขึ้นแต่ในร่างกายของมนุษย์เท่านั้น ญาติที่ใกล้ชิดของเรา บรรดาสมาชิกในอันดับไพรเมต ก็มีการแสดงออกและเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ที่น่าสนใจ แม้เราจะไม่สามารถตอบได้ว่าลิงนั้นรักกันหรือเปล่า แตเราอาจพอตอบได้ว่าลิง เป็นสัตว์ที่มีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างใกล้ชิดContinue reading “เรื่องรักๆ เรื่องลับๆ ของวานร”

ลิงน้อยจอมซนในภาพกาก

Naughty Monkeys in Vessantara Jātaka Painting Primate Story teller : Nan Ariratana เมื่อพูดถึงวรรณกรรมในพุทธศาสนาเรื่อง มหาเวสสันดรชาดก ก็คงพอจะเป็นที่คุ้นหูของชาวพุทธในประเทศไทยเป็นอย่างดี เนื่องด้วยเป็นการกล่าวถึงการบำเพ็ญเพียรสะสมบารมีเป็นชาติสุดท้ายของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน หรือ พระโคตมพุทธเจ้ามหาเวสสันดรชาดก ปรากฎ เรื่องราวผ่านทั้งทางวรรณกรรม เช่น มหาชาติคำหลวง จิตรกรรม เช่น จิตกรรมฝสผนังตามอุโบสถของวัดต่างๆ และ พิธีกรรม เช่น พิธีเทศน์มหาชาติที่นิยมจัดขึ้นหลังฤดูกาลทอดกฐิน พุทธศาสนิกชนมีความเชื่อว่าหากฟังเทศน์มหาชาติครบทั้ง 13 กัณฑ์จะได้กุศลแรง ได้ไปเกิดใหม่ในศาสนาของพระศรีอาริย์ ผู้เขียนได้มีโอกาสไปเยือนวัดขุนตรา จ.เพชรบุรี พบว่าทางวัดมีงานจิตรกรรมสีฝุ่น บนแผ่นไม้ ที่ว่าด้วยเรื่องมหาเวสสันดรชาดก ทั้ง 13 กัณฑ์ ถือเป็นงานศิลปกรรมที่ทรงคุณค่าและงดงามมาก  ภาพเหล่านี้ถูกวาดขึ้นโดยครูเลิศ พ่วงพระเดช (2437-2513)  ศิลปินด้านพุทธศิลป์คนสำคัญในจังหวัดเพชรบุรี โดยมีจุดประสงค์การสร้างภาพจิตรกรรมเหล่านี้เพื่อประดับตกแต่งสถานที่ในกรณีที่ทางวัดจัดงานเทศน์มหาชาติ แต่สาายตาของผู้เขียนนั้น จะไวเป็นพิเศษเมื่อเห็น “ลิง” แอบซ่อนอยู่ตรงไหนก็ตาม วันนี้ผู้เขียนก็เลยอยากพาไปชมเหล่าลิงน้อยที่ปรากฎตัวในภาพวาดดังกล่าว เหล่าลิงน้อยแสนซุกซน ปรากฎในรูปภาพจิตรกรรมสีฝุ่นบนแผ่นไม้ แบบของภาพกากContinue reading “ลิงน้อยจอมซนในภาพกาก”

แม่ลูกกลางหิมะ

Primate thing today…..โมเดลแม่ลูกลิงกังญี่ปุ่น อยู่ตรงไหนก็ปรับตัวตรงนั้น ลิง ชนิดต่างๆ ถือเป็น เป็นสัตว์ที่มีถิ่นที่อยู่อันหลากหลาย ว่ากันว่าลิงกังญี่ปุ่น (Japanese macaque) ชื่อวิทยาศาสตร์ Macaca fuscata เป็นสิ่งมีชีวิตในอันดับ primate ที่อยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรมากที่สุด (ถ้าไม่นับมนุษย์) แต่จริงๆแล้วก็มีการกระจายตัวอยู่ทั่วทั้งโซนเหนือจรดใต้ ใครอยู่ตรงไหนก็ปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ตรงนั้นไม่ว่าคนหรือสัตว์ อย่างกรณีลิงกังญี่ปุ่น มีการปรับตัวทางด้านร่างกาย เช่น การมีขนหนา 2 ชั้น เหมือนผ้าห่มอุ่นๆ และมีหางสั้นกุด เพื่อลดพื้นที่การถูกหิมะกัด ในด้านพฤติกรรม พวกที่อยู่เหนือและหนาวมากๆก็ไปแช่บ่อน้ำร้อนซะ บางพวกเรียนรู้ที่จะปั้น snow ball เขวี้ยงกันสนุกสนานและไม่นิยมที่จะต่อสู้กันเนื่องจากประหยัดพลังงาน ส่วนพวกที่อยู่ทางใต้ใกล้ทะเลก็เรียนรู้ที่จะจุ่มหัวมันกับน้ำทะเลกิน ซึ่งเกิดจากการเลีบนแบบพฤติกรรมซึ่งกันและกัน และเรียนรู้แม้กระทั่งการจับปลา ปริศนาธรรมจากลิงญี่ปุ่น ในญี่ปุ่นเชื่อว่าลิงคือสื่อกลางระหว่างสวรรค์กับมนุษย์ หลายคนคงจะเห็นรูปปั้นลิง 3 ตัวที่ปิดตา ปิดหู ปิดปาก เป็นปริศนาธรรมที่สื่อถึง “การไม่รับรู้โดยการมองในสิ่งที่ไม่ดี การไม่ฟังในสิ่งที่ไม่ดี และการไม่กล่าววาจาในสิ่งที่ไม่ดี” โดยปริศนาธรรมนี้มีถิ่นกำเนิดจากภาพแกะสลักไม้ที่ศาลเจ้าชินโต ชื่อศาลนิกโกโทโช เมืองนิกโก แล้วทำไมต้องเป็นลิงด้วย? (แน่นอนว่าลิงที่แกะสลักมาต้องเลียนแบบมาจากลิงกังญี่ปุ่น) แล้วทำไมไม่เป็นสัตว์อื่นๆล่ะContinue reading “แม่ลูกกลางหิมะ”