ลิงในงานศิลปกรรม : พาไปชมงานศิลปกรรมรูปลิงที่พิพิธฑภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร

ลิงศึกษาในงานศิลปกรรม ในเว็บ primatethings.com และเพจพูดลิง ทำลิง พยายามจะนำเสนอเรื่องราวลิง ลิง ในหลากหลายมิติ ทั้งลิงในแง่ที่เป็นสิ่งมีชีวิตแสนซุกซน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับไพรเมต ลิง ในแง่การศึกษาพฤติกรรมของลิง ลิงในแง่ที่ปรากฎเป็นส่วนหนึ่งของวิวัฒนการมนุษย์ นอกจากนั้นแล้ว เราก็ยังอยากจะนำเสนออีกแง่มุมหนึ่งคือ ลิงที่ปรากฎตัวในรูปแบบของความเชื่อ ความเกี่ยวพันกับสังคมมนุษย์ และลิงที่ปรากฎตัวในงานศิลปกรรมแขนงต่างๆ โดยผู้เขียนจะขอถือโอกาสบรรจุซีรี่ส์ “ลิงในงานศิลปกรรม” เอาไว้ ในคอลัมน์ Primate Studies เพื่อเป็นการพาผู้อ่านไปชมความน่ารักของเหล่าวานร และรวบรวมแง่มุมความสัมพันธ์ที่มนุษย์มีต่อลิงและได้แสดงออกมาผ่านงานศิลปะ ซึ่งอาจสะท้อนถึงปฏิสัมพันธ์ที่มีต่อเพื่อนร่วมอันดับไพรเมต จากอดีตถึงปัจจุบัน ไปชมลิงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร วันนี้ Primatethings ขอเปิดซีรีส์ “ลิงในงานศิลปกรรม” โดยพาไปชมงานศิลปกรรมรูปลิงที่ปรากฎ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งแรกของประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2469 หรือเมื่อเกือบ 100 ปีมาแล้ว พื้นที่ของพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่บริเวณพระราชวังบวรสถาน หรือ วังหน้า ใกล้กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และ ท้องสนามหลวง ทางพิพิธภัณฑ์จัดแสดงงานศิลปกรรมชิ้นสำคัญของชาติที่เป็นถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมเอาไว้หลายแขนง ภายในประกอบไปด้วยอาคารจัดแสดงและห้องจัดแสดงหลายอาคาร อาทิเช่น อาคารมหาสรุสิงหนาท จัดแสดงนิทรรศการประวัติศาสตร์โบราณคดีก่อนพุทธศตวรรษที่ 18Continue reading “ลิงในงานศิลปกรรม : พาไปชมงานศิลปกรรมรูปลิงที่พิพิธฑภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร”

เมื่อชะนีไม่ได้ร้อง ผัว ผัว !

ชะนี นอกจากจะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในอันดับไพรเมตประเภทที่ไม่มีหาง ชอบห้อยโหนโยนตัวไปมาบนยอดไม้แล้ว ในคำสแลง ยังเป็นที่เข้าใจกันว่า “ชะนี” หมายถึง ผู้หญิงแท้ ซึ่งอาจมีที่มาว่าผู้หญิงแท้ อาจร้องเรียกหาผัว หรือแสดงความต้องการว่าอยากจะมีสามีมากๆอะไรทำนองนั้น อย่างไรก็ดี คำแสลง ก็เป็นคำเรียกที่นิยมเฉพาะกลุ่ม หรือเป็นที่นิยมเรียกในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น เมื่อเวลาผ่านไป ความนิยมอาจลดลงได้และถูกเลิกใช้ไปในที่สุด อะไรที่ทำให้ได้ยินว่าชะนีร้อง “ผัว ! ผัว !” ? ว่ากันว่าเสียงร้องของสัตว์ในต่ละภาษานั้น เรียกว่า สัทพจน์ หรือเสียงที่เลียนแบบเสียงธรรมชาติ แต่เสียงที่เลียนแบบเสียงธรรมชาติ ในแต่ละภาษานั้นมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับหน่วยพื้นฐานของเสียงในแต่ละภาษา ดังนั้น สัตว์ชนิดเดียวกันอาจจะร้องไม่เหมือนกันในแต่ละภาษาก็เป็นได้ เช่น สุนัขไทยอาจเห่าว่า “โฮ่ง โฮ่ง” สุนัขอังกฤษอาจเห่าว่า “วูฟ วูฟ” สุนัขญี่ปุ่นอาจเห่าว่า “วัน วัน”  สุนัขอิตาเลี่ยนอาจเห่าว่า “เบา เบา” ชะนีก็เช่นกันเรายังไม่ทราบแน่ชัดว่าทำไม ในภาษาไทยเราถึงได้ยินชะนีร้องว่า “ผัว ผัว” แต่สำหรับในกลุ่มคนที่ใช้ภาษาอื่นนั้น ชะนีอาจจะร้องเป็นคำอื่นที่ไม่ใช่ “ผัว ผัว” ก็เป็นได้ ดังนั้นContinue reading “เมื่อชะนีไม่ได้ร้อง ผัว ผัว !”

ลิงกับค่างแตกต่างกันอย่างไร ?

“ลิง ค่าง บ่าง ชะนี” “ซนเป็นลิงเป็นค่าง” เพื่อนๆหลายคนอาจจะเคยได้ยินประโยคเหล่านี้ ที่คำว่า “ลิง” กับ “ค่าง” มักจะใช้ร่วมกันเป็นเป็นคำซ้อนในสำนวนไทย อย่างคำว่า “ลูกลิงลูกค่าง” ก็ใช้เป็นคำอุปมาเปรียบเทียบกับเด็กๆที่มีความซุกซน อยู่ไม่สุข และชอบปีนป่าย ลิง กับ ค่าง อาจจะดูเป็นสัตว์ที่หน้าตาคล้ายๆกัน ชนิดใกล้เคียงกัน และอาศัยอยู่บนต้นไม้เหมือนกัน แต่ในความเหมือนนั้น ก็มีความแตกต่างกันอยู่บ้าง แล้วทั้งลิง และ ค่าง นั้น แตกต่างกันตรงไหนบ้าง? สิ่งที่ต่างกันของลิงกับค่าง 1.การจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต หรือ อนุกรมวิธาน ทั้งลิง และ ค่าง เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับไพรเมตเหมือนกัน อยู่ในวงศ์ลิงโลกเก่าเหมือนกัน แต่ ต่างกันที่วงศ์ย่อย (Subfamily) คนละวงศ์ย่อยกัน ลิง จะอยู่ในวงศ์ย่อย Cercopithecinae ในขณะที่ค่าง อยู่ในวงศ์ย่อย Colobinae 2.ชื่อภาษาไทยต่างกัน ชื่อภาษาอังกฤษก็ต่างกัน คำว่า ลิง โดยทั่วไปในภาษาอังกฤษจะเรียกกว้างๆว่า Monkey แต่สำหรับค่างในภาษาอังกฤษContinue reading “ลิงกับค่างแตกต่างกันอย่างไร ?”

แนะนำหนังสือ : วานรศึกษา

ชื่อหนังสือ : วานรศึกษา บรรณาธิการโดย : ผศ.สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ และ ผศ.ดร.วรวิทย์ บุญไทย หน่วยงานผู้จัดพิมพ์ : คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และ ห้องปฏิบัติการมานุษยวิทยากายภาพและชาติพันธุ์วิทยา หนังสือวานรศึกษา ป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำนิทรรศการ Primate & Me ของพิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์ฯ แต่จะใช้คำว่าเป็นหนังสือ “ประกอบ” นั้น “ผิด” เนื่องจากไม่ได้เกิดจากการนำบทนิทรรศการหรือเนื้อหาภายในนิทรรศการมาเปิดเผยแต่อย่างใด เป็นแต่เพียงการรวมบทความที่ช่วยเล่าเรื่องการศึกษาเรื่องลิงในประเทศไทยให้ชัดเจนขึ้น ดังนั้น ใครจะมาชมนิทรรศการโดยไม่ชอบอ่านหนังสือ หรือ ใครที่ชอบอ่านหนังสือแต่ขี้เกียจมาชมนิทรรศการก็ได้ทั้งสิ้น แต่ถ้าจะใช้คำว่าหนังสืออันเนื่องด้วยการจัดทำนิทรรศการก็พอได้ โดยเนื้อหาของหนังสือนั้น เป็นการรวมบทความของนักวิชาการที่ศึกษาลิงในความหมายของนักวิทยาศาสตร์หรือนักชีววิทยา และ อีกส่วนหนึ่งเป็นบทความที่เขียนโดยนักมานุษยวิทยา นามกระเดื่องหลายท่าน ในฐานะที่ตนเองเป็นผู้สนใจเรื่องลิงเช่นกัน ฉันมองว่าเป็นหนังสือที่พยายามจะเชื่อมโลก 2 ใบเข้าไว้ด้วยกัน คือลิงในความหมายของสิ่งมีชีวิตที่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับ Primate และลิง ในฐานะที่เป็นมิติกับความข้องเกี่ยวกับความเป็นมนุษย์ ทั้งในแง่วิวัฒนาการของมนุษย์ การปรากฎตัวในวรรณกรรมทางศาสนา หรือมิติทางเพศของผู้ศึกษาลิง ดังนั้น หากจะพูดตรงๆอาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย ที่คน 1 คนContinue reading “แนะนำหนังสือ : วานรศึกษา”

การแสดงชุดจับลิงหัวค่ำ : ใครจับใคร? จับทำไม?

จับลิงหัวค่ำคืออะไร? แสดงเมื่อไหร่ ? ในการแสดงมหรสพไทยประเพณี เช่น หนังใหญ่ หรือ หนังตะลุงนั้น มักมีธรรมเนียมปฏิบัติก่อนการทำการแสดง โดยมีขั้นตอนเริ่มต้นด้วยการไหว้ครูหรือเบิกหน้าพระ ตามด้วยการแสดงเบิกโรง ในชุดสั้นๆ ก่อนที่จะเริ่มต้นการแสดงในเนื้อเรื่องยาวต่อไป การแสดง “จับลิงหัวค่ำ” หรือบ้างก็เรียกว่า “ลิงขาว ลิงดำ” เป็นการแสดงเบิกโรง หรือการแสดงเรียกน้ำย่อย ก่อนทำการแสดงชุดจริงต่อไป คาดว่าคำว่า “หัวค่ำ” น่าจะหมายถึง ช่วงเวลาที่ทำการแสดง คือ เริ่มต้นแสดงเมื่อหัวค่ำ ถือเป็นการแสดงโหมโรงเพื่อเรียกคนดูให้ทราบก่อนการแสดงจริงจะเริ่มขึ้น เรื่องย่อ จับลิงหัวค่ำ เนื้อเรื่องของการแสดงจับลิงหัวค่ำนั้น เป็นเรื่องสั้นๆ ที่ไม่ซับซ้อน ว่าด้วย ลิงขาว และ ลิงดำ เป็นเพื่อนกัน อาศัยอยู่ร่วมกันกับพระฤาษีในป่า มีหน้าที่ดูแลอุปัฐฐากพระฤาษี วันหนึ่ง ลิงดำเกิดเมามายขึ้นมา อาละวาดขว้างปาข้าวของ ลิงขาว จึงต้องทำหน้าที่ไล่จับลิงดำ ต่อสู้กันไปมาและพยายามจะนำเชือกมามัดลิงดำ เมื่อจับลิงดำได้ ก็พาลิงดำมาพบพระฤาษี โดยตอนแรกลิงขาวคิดว่าจะฆ่าลิงดำเสีย แต่พระฤาษีของบิณฑบาตรชีวิตไว้ บอกว่าควรให้อภัยเป็นทานและลิงดำก็ไม่ได้กระทำความผิดถึงขั้นสมควรแก่การเอาชีวิต แล้วพระฤาษีก็สั่งสอนลิงดำว่าให้กลับตัว กลับใจ เลิกประพฤติชั่วเสีย ผู้เขียนขอแทรกบทเสภาสำนวนของนายอำนาจContinue reading “การแสดงชุดจับลิงหัวค่ำ : ใครจับใคร? จับทำไม?”

สังคมและการเมืองของวานร

Sociality & Politics in Non-human primates Primate Story teller : nan Ariratana 1.Planet of the ape : โลก สังคม การเมือง ของวานร 1.1 Planet of the ape: บุกพิภพมนุษย์วานร ภาพยนตร์ Sci-fi เรื่อง Planet of the ape เวอร์ชั่นดั้งเดิมที่ดัดแปลงมาจากวรรณกรรมเรื่อง La Planete des Singes (1963) ของนักเขียนชาวฝรั่งเศสที่ชื่อ Pierre Boulle เขาใช้เวลาเขียนนวนิยายเรื่องนี้เป็นเวลา 6 เดือน หลังจากที่เขาได้สังเกตการแสดงออกที่คล้ายคลึงกับมนุษย์ของกอริลล่าในสวนสัตว์มาเป็นแรงบันดาลใจในการเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับวานร[1]  วรรณกรรมเรื่องนี้ได้ถูกดัดแปลงมาเป็นภาพยนตร์ที่มีภาคต่อถึง 5 ภาค ออกฉายระหว่างปี 1968-1973  ต่อมาในปี 2001 PlanetContinue reading “สังคมและการเมืองของวานร”

เรื่องรักๆ เรื่องลับๆ ของวานร

Love & Sex in non-human primates Primate Story teller : Nan Ariratana 1.เรื่องรัก รัก ของวานร           มีบทกวี บทเพลง วรรณกรรมมากมายที่อุทิศให้ความรัก ตลอดจนความพยายามที่จะให้นิยาม ความหมายของคำว่ารักที่หลากหลายและกว้างไกล ดูเหมือนว่าความรักจะเป็นอารมณ์ความรู้สึกที่มีผลกระทบต่อสภาพจิตใจ ความรับรู้ และการกระทำของมนุษย์ไม่น้อย เพราะความรักประกอบไปด้วยอารมณ์ ความรู้สึก และการกระทำอื่นๆที่ซับซ้อนทั้งความพึงพอใจ ความใกล้ชิด ความผูกพันความสัมพันธ์ต่อกัน การตีความการกระทำ คำพูดระหว่างกันที่ไม่รู้จบสิ้น  ไม่เพียงแต่ในด้านอรมณ์ ความรู้สึกเท่านั้น ความรัก เป็นเหมือนกลไกขับเคลื่อนระบบสืบพันธุ์ของมนุษย์ ในอันที่จะสืบเผ่าพันธุ์และส่งต่อ DNA ของตนเองต่อไป อาจไม่เกินเลยไปนัก หากจะกล่าวว่าพฤติกรรมและการกระทำหลายๆอย่างของมนุษย์เกิดจากแรงขับทางเพศที่เป็นสัญชาติญาณพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตโดยทั่วไป           ความรัก อาจเป็นความรู้สึกที่เป็นนามธรรม เป็นของขวัญ หรือคำสาปที่พิเศษสำหรับมนุษย์  โดยมนุษย์อุทิศเวลา และความสิ้นเปลืองทางอารมณ์มอบให้แก่สิ่งที่เรียกว่าความรัก แต่สำหรับการสืบพันธุ์แล้ว ไม่ได้เป็นกระบวนการพิเศษที่เกิดขึ้นแต่ในร่างกายของมนุษย์เท่านั้น ญาติที่ใกล้ชิดของเรา บรรดาสมาชิกในอันดับไพรเมต ก็มีการแสดงออกและเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ที่น่าสนใจ แม้เราจะไม่สามารถตอบได้ว่าลิงนั้นรักกันหรือเปล่า แตเราอาจพอตอบได้ว่าลิง เป็นสัตว์ที่มีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างใกล้ชิดContinue reading “เรื่องรักๆ เรื่องลับๆ ของวานร”