ชะนี นอกจากจะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในอันดับไพรเมตประเภทที่ไม่มีหาง ชอบห้อยโหนโยนตัวไปมาบนยอดไม้แล้ว ในคำสแลง ยังเป็นที่เข้าใจกันว่า “ชะนี” หมายถึง ผู้หญิงแท้ ซึ่งอาจมีที่มาว่าผู้หญิงแท้ อาจร้องเรียกหาผัว หรือแสดงความต้องการว่าอยากจะมีสามีมากๆอะไรทำนองนั้น อย่างไรก็ดี คำแสลง ก็เป็นคำเรียกที่นิยมเฉพาะกลุ่ม หรือเป็นที่นิยมเรียกในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น เมื่อเวลาผ่านไป ความนิยมอาจลดลงได้และถูกเลิกใช้ไปในที่สุด อะไรที่ทำให้ได้ยินว่าชะนีร้อง “ผัว ! ผัว !” ? ว่ากันว่าเสียงร้องของสัตว์ในต่ละภาษานั้น เรียกว่า สัทพจน์ หรือเสียงที่เลียนแบบเสียงธรรมชาติ แต่เสียงที่เลียนแบบเสียงธรรมชาติ ในแต่ละภาษานั้นมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับหน่วยพื้นฐานของเสียงในแต่ละภาษา ดังนั้น สัตว์ชนิดเดียวกันอาจจะร้องไม่เหมือนกันในแต่ละภาษาก็เป็นได้ เช่น สุนัขไทยอาจเห่าว่า “โฮ่ง โฮ่ง” สุนัขอังกฤษอาจเห่าว่า “วูฟ วูฟ” สุนัขญี่ปุ่นอาจเห่าว่า “วัน วัน” สุนัขอิตาเลี่ยนอาจเห่าว่า “เบา เบา” ชะนีก็เช่นกันเรายังไม่ทราบแน่ชัดว่าทำไม ในภาษาไทยเราถึงได้ยินชะนีร้องว่า “ผัว ผัว” แต่สำหรับในกลุ่มคนที่ใช้ภาษาอื่นนั้น ชะนีอาจจะร้องเป็นคำอื่นที่ไม่ใช่ “ผัว ผัว” ก็เป็นได้ ดังนั้นContinue reading “เมื่อชะนีไม่ได้ร้อง ผัว ผัว !”
Tag Archives: primatology
ลิงกับค่างแตกต่างกันอย่างไร ?
“ลิง ค่าง บ่าง ชะนี” “ซนเป็นลิงเป็นค่าง” เพื่อนๆหลายคนอาจจะเคยได้ยินประโยคเหล่านี้ ที่คำว่า “ลิง” กับ “ค่าง” มักจะใช้ร่วมกันเป็นเป็นคำซ้อนในสำนวนไทย อย่างคำว่า “ลูกลิงลูกค่าง” ก็ใช้เป็นคำอุปมาเปรียบเทียบกับเด็กๆที่มีความซุกซน อยู่ไม่สุข และชอบปีนป่าย ลิง กับ ค่าง อาจจะดูเป็นสัตว์ที่หน้าตาคล้ายๆกัน ชนิดใกล้เคียงกัน และอาศัยอยู่บนต้นไม้เหมือนกัน แต่ในความเหมือนนั้น ก็มีความแตกต่างกันอยู่บ้าง แล้วทั้งลิง และ ค่าง นั้น แตกต่างกันตรงไหนบ้าง? สิ่งที่ต่างกันของลิงกับค่าง 1.การจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต หรือ อนุกรมวิธาน ทั้งลิง และ ค่าง เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับไพรเมตเหมือนกัน อยู่ในวงศ์ลิงโลกเก่าเหมือนกัน แต่ ต่างกันที่วงศ์ย่อย (Subfamily) คนละวงศ์ย่อยกัน ลิง จะอยู่ในวงศ์ย่อย Cercopithecinae ในขณะที่ค่าง อยู่ในวงศ์ย่อย Colobinae 2.ชื่อภาษาไทยต่างกัน ชื่อภาษาอังกฤษก็ต่างกัน คำว่า ลิง โดยทั่วไปในภาษาอังกฤษจะเรียกกว้างๆว่า Monkey แต่สำหรับค่างในภาษาอังกฤษContinue reading “ลิงกับค่างแตกต่างกันอย่างไร ?”
แนะนำหนังสือ : ลิงเปลือย
ลิงเปลือย แปลจาก The Naked Ape: A Zoologist’s Study of the Human Animal ผู้เขียน : Desmond Morris ผู้แปลและเรียบเรียง : มยูร วิเศษกุล พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ.2513 สำนักพิมพ์แพร่พิทยา มนุษย์ คือ ลิงเปลือย?!?!? The Naked Ape: A Zoologist’s Study of the Human Animal หรือชื่อหนังสือที่ถูกแปลงเป็นภาษาไทยว่า “ลิงเปลือย” ถูกเขียนขึ้นในปี ค.ศ.1967 (พ.ศ.2510) โดย Desmond Morris นักพฤติกรรมสัตว์และนักสัตววิทยา ชาวอังกฤษ ต่อมาถูกแปลเป็นภาษาไทยในปี พ.ศ.2513 ว่ากันว่าหนังสือเล่มนี้เป็นที่กล่าวถึงและได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางจนแปลไปถึง 23 ภาษาเลยทีเดียว หนังสือเล่มนี้เป็นการกล่าวถึงพฤติกรรมของมนุษย์นับตั้งแต่การวิวัฒนาการมาจากลิง จนถึงพฤติกรรมของมนุษย์ร่วมสมัย โดยการอธิบายว่ามนุษย์ก็คือลิงชนิดหนึ่งที่ขนสั้นกุดContinue reading “แนะนำหนังสือ : ลิงเปลือย”
จีนผสมเทียมค่างสามสีตัวแรกของโลก
ค่างสามสีผสมเทียมตัวแรกของโลก วันที่ 11 พฤศจิกายน 2021 สำนักข่าว Xinhua ของจีนรายงานว่าศูนย์วิจัยไพรเมตฉางหลง เมืองกว่างโจว มณฑลกวางตุ้ง ประสบความสำเร็จในการผสมเทียม ค่างสามสี (Black-shanked douc) ตัวแรกของโลก โดยค่างสามสีน้อยตัวนี้ได้ลืมตาดูโลก เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2021 ที่ผ่านมา เมื่อแรกคลอดค่างน้อยมีความจำเป็นต้องอยู่ในตู้อบประมาณ 2 เดือน และเมื่อมีอายุประมาณ 2 ปีครึ่งจึงจะสามารถปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติได้ภายใต้การดูแลและฝึกฝนของผู้เชี่ยวชาญ ค่างสามสี อีกหนึ่งไพรเมตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ใกล้สูญพันธุ์ ค่างสามสี มีชื่อสามัญว่า Black-shanked douc ชื่อวิทยาศาสตร์ Pygathrix nigripes มีถิ่นที่อยู่อาศัยอยู่บริเวณตอนกลางของเวียดนามฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ และบางส่วนของกัมพูชาด้านตะวันออก โดยอยู่อาศัยเป็นฝูแบบตัวเมียหลายตัว-ตัวผู้หลายตัว (multi male –multi-female group) ในป่าโปร่ง และ ป่าผลัดใบ เราจะเห็นว่าในเวียดนาม เป็นถิ่นที่อยู่ของ ค่างสามสี ค่างสี่สี และ ค่างห้าสี เรียงจำนวนสีกันเลยทีเดียวค่ะ แต่ว่าแต่ละชนิดพันธุ์นั้นอาจจะมีสีสันและถิ่นที่อยู่อาศัยต่างกันบ้าง ค่างสามสีContinue reading “จีนผสมเทียมค่างสามสีตัวแรกของโลก”
แนะนำหนังสือ : วานรศึกษา
ชื่อหนังสือ : วานรศึกษา บรรณาธิการโดย : ผศ.สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ และ ผศ.ดร.วรวิทย์ บุญไทย หน่วยงานผู้จัดพิมพ์ : คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และ ห้องปฏิบัติการมานุษยวิทยากายภาพและชาติพันธุ์วิทยา หนังสือวานรศึกษา ป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำนิทรรศการ Primate & Me ของพิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์ฯ แต่จะใช้คำว่าเป็นหนังสือ “ประกอบ” นั้น “ผิด” เนื่องจากไม่ได้เกิดจากการนำบทนิทรรศการหรือเนื้อหาภายในนิทรรศการมาเปิดเผยแต่อย่างใด เป็นแต่เพียงการรวมบทความที่ช่วยเล่าเรื่องการศึกษาเรื่องลิงในประเทศไทยให้ชัดเจนขึ้น ดังนั้น ใครจะมาชมนิทรรศการโดยไม่ชอบอ่านหนังสือ หรือ ใครที่ชอบอ่านหนังสือแต่ขี้เกียจมาชมนิทรรศการก็ได้ทั้งสิ้น แต่ถ้าจะใช้คำว่าหนังสืออันเนื่องด้วยการจัดทำนิทรรศการก็พอได้ โดยเนื้อหาของหนังสือนั้น เป็นการรวมบทความของนักวิชาการที่ศึกษาลิงในความหมายของนักวิทยาศาสตร์หรือนักชีววิทยา และ อีกส่วนหนึ่งเป็นบทความที่เขียนโดยนักมานุษยวิทยา นามกระเดื่องหลายท่าน ในฐานะที่ตนเองเป็นผู้สนใจเรื่องลิงเช่นกัน ฉันมองว่าเป็นหนังสือที่พยายามจะเชื่อมโลก 2 ใบเข้าไว้ด้วยกัน คือลิงในความหมายของสิ่งมีชีวิตที่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับ Primate และลิง ในฐานะที่เป็นมิติกับความข้องเกี่ยวกับความเป็นมนุษย์ ทั้งในแง่วิวัฒนาการของมนุษย์ การปรากฎตัวในวรรณกรรมทางศาสนา หรือมิติทางเพศของผู้ศึกษาลิง ดังนั้น หากจะพูดตรงๆอาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย ที่คน 1 คนContinue reading “แนะนำหนังสือ : วานรศึกษา”
ผจญภัยไปกับอมาดิโอ้
Primate thing today….. โมเดลฝาขวด รูปลิงขนสีขาวกำลังหาอะไรกินในจาน สปาเก๊ตตี้ทะเล ผจญภัยไปกับเจ้าอมาดิโอ้ โมเดลจิ๋วอันนี้มาจากอนิเมชั่นญี่ปุ่นเรื่อง 3000 Leagues in Search of Mother เป็นอนิเมชั่นในปี 1976 และต่อมาทำเป็นหนังในปี 1980 เป็นเรื่องราวของ เด็กชายมาร์โก้ อาศัยอยู่เมืองเจนัวร์ Italy ทางบ้านฐานะยากจน มีพ่อ แม่ พี่ชาย พ่อกับพี่ต้องทำงานหนัก ส่วนแม่ไปทำงานเป็นคนรับใช้อยู่อาเจนติน่า วันหนึ่ง มาร์โก้ ไม่ได้รับจดหมายจากแม่มา 2 เดือนแล้ว ก็กลัวแม่จะเป็นอะไรไป จึงขอออกไปตามหาแม่เพียงคนเดียวโดยมีเจ้าอมาดิโอ้ ลิงที่พี่ชายเลี้ยงไว้ไปเป็นเพื่อน (โธ่ !) เขาแอบหนีไปบนเรือสินค้าไปขึ้นท่าเรือที่บราซิล เสร็จแล้วทุลักทุเล ขี่ลา ต่อรถไฟ เดินเท้า สารพัดวิธีไปหาแม่ จนพบว่าแม่เขียน จ.ม.กลับอิตาลี แต่โดนลุงเอาไปทิ้ง สุดท้าบดั้นด้นไปจนพบแม่ พบว่าแม่ป่วยแต่ก็สุดท้ายได้อยู่ด้วยกันกับแม่ แต่เราไม่ได้ดูว่าสุดท้ายได้เดินทางกลับอิตาลีกันรึเปล่า แค่ต้นเรื่องก็เศร้าซะละ กลัวดูไปแล้วร้องไห้ สงสารน้องมาร์โก้ ลิงกินหอยในท้องเรื่องก็เป็นไปได้ที่เจ้าอมาดิโอ้จะกินสปาเก็ตตี้ทะเล เนื่องจากในเรื่องเกิดที่อิตาลีContinue reading “ผจญภัยไปกับอมาดิโอ้”
ล.ลิง ทำรัง
Primate thing today…..กาชาปองอุรังอุตังหลับ ซีรี่ส์กาชาปองนี้ เป็นซีรี่ส์เกี่ยวกับสัตว์หลับ เราจึงเลือกเก็บเฉพาะไพรเมตหลับ พอพูดถึง “ลิงหลับ” ถ้าเป็นสำนวน พูดจนลิงหลับ ก็แปลว่า พูดคล่องจนผู้ฟังเคลิ้มไปตาม แต่ถ้าเป็นลิงในธรรมชาติหลับจริงๆพบว่า วานรบางชนิดก่อนจะหลับมีการทำรังด้วย ! เมื่อพูดคำว่า ทำรัง (Nesting) ก็จะนึกถึงนกตัวน้อยๆที่ทำรัง ออกลูก เลี้ยงลูก แต่จริงๆแล้วพวกไพรเมตนี่ก็ทำรังกะเขาเหมือนกันนะ การทำรังในไพรเมตพบเฉพาะพวก วงศ์ย่อย Strepsirrhini (ลีเมอร์ ลิงลม อายอาย) กับพวก Hominidae (Great ape+มนุษย์) เท่านั้น สำหรับพวกลิงโลกเก่า (ลิงทั่วไปที่เรารู้จัก) / ลิงโลกใหม่ไม่ทำรังเลย สำหรับรังของพวก ลิงลม และ ลีเมอร์ขนาดเล็กจิ๋ว เช่น ลีเมอร์หนู พอเข้าใจได้ว่าอาศัยอยู่บนต้นไม้หรือโพรงไม้และเป็นสัตว์กลางคืน บางครั้งจำเป็นต้องฝากลูกไว้ในโพรงหรือในรังเพื่อความอยู่รอดของทารก บางครั้งก็ไม่ได้อยู่ครอบครัวเดียว ในบางรังมีตัวเมีย 2 ตัวและต่างก็เลี้ยงลูกของตน ในบางรังตัวผู้ 1 ตัวอยู่กับตัวเมียหลายตัว (polygamy) ก็มี แต่อย่างไรก็ตามพวกลีเมอร์ใหญ่Continue reading “ล.ลิง ทำรัง”
ลิงไร้หางผู้อยากเป็นคน
Primate thing today…..ตุ๊กตา King Louie จากภาพยนตร์ The Jungle Book ราชาลูอี้ในภาพยนตร์เมาคลีลูกหมาป่า ราชาลูอี้ ปรากฎตัวในหนังเรื่อง The Jungle Book (คนไทยรู้จักในนามของนิทานเมาคลีลูกหมาป่า) ของค่าย Disney ซึ่งแต่เดิม The Jungle Book เวอร์ชั่นที่เป็นวรรณกรรม ประพันธ์โดย Rudyard Kipling นักประพันธ์ชาวอังกฤษนั้น ไม่มีตัวละครนี้ เพิ่งจะมีตัวละครนี้เมื่อค่าย Disney พัฒนาโครงเรื่องเพื่อเป็นภาพยนตร์การ์ตูน ในปี 1967 พากษ์เสียงโดย Louis Prima นักร้อง jazz ชาวอิตาเลี่ยนอเมริกัน ว่ากันว่าแต่เดิม ทาง Disney อยากให้นักร้อง jazz ที่โด่งดังในยุค 60’s อย่าง Louis Armstrong เป็นผู้พากษ์เสียง แต่ทางบริษัทเกรงจะเกิดดราม่าว่า หากเอาคนอเมริกันผิวดำมาให้เสียง “ลิง” เดี๋ยวจะเกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นการดูถูกหรือแบ่งแยก (คนขาว/คนดำ)Continue reading “ลิงไร้หางผู้อยากเป็นคน”
ลิง กับ คน : ไพรเมทวิทยาเชิงชาติพันธุ์ของลิงแสม
Book Review… วิทยานิพนธ์ลิง กับ คน : ไพรเมทวิทยาเชิงชาติพันธุ์ของลิงแสม ณ ต.ท่าหิน อ.เมือง จ.ลพบุรี โดย เวทัส โพธารามิก วันนี้ขอเขียนถึงหนังสือหนึ่งเล่มที่มีความน่าสนใจมาก สำหรับคนที่มีความสนใจศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับลิง ซึ่งอันที่จริงไม่ใช่หนังสือเล่ม แต่เป็นวิทยานิพนธ์ ระดับมหาบัณฑิต สาขามานุษยวิทยา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ของ เวทัส โพธารามิก เรื่อง ไพรเมทวิทยาเชิงชาติพันธุ์ของลิงแสม (Macaca fascicularis) ณ ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี สมัยก่อนนู้น ตอนที่วิทยานิพนธ์เล่มนี้ออกมาใหม่ๆ (2556) ประเด็นเรื่องลิงลพบุรีตีกัน ก็อาจเป็นที่รับรู้ของคนในท้องถิ่นอยู่แล้ว แต่ว่ามันอาจจะยังไม่ได้นำเสนอผ่านสื่อหลัก ที่นำข่าวลิงตีกันมาเล่นเป็นสกู๊ปข่าวบ้าง หรือตัดมาเป็นคลิปหรือ meme ขำๆตามเพจบ้าง แต่ตอนนี้ความรับรู้เรื่องลิงลพบุรีตีกันมันกว้างออกไปจากคนในท้องถิ่น เราก็เลยคิดว่าวิทยานิพนธ์เล่มนี้ ช่วยให้เห็นคำตอบที่ชัดเจนทีเดียวว่าทำไมมันต้องตีกัน คุโณปการของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ในความเห็นส่วนตัวของเราคือ ทำให้มองเห็น “ลิงที่มองไม่เห็น” หมายถึง ในความเข้าใจเดิมๆของคนในพื้นที่หรือคนทั่วไป อาจจะมองว่าลิงมีแค่ 2 กลุ่ม(ฝูง) ลิงตึกกับลิงศาลพระกาฬContinue reading “ลิง กับ คน : ไพรเมทวิทยาเชิงชาติพันธุ์ของลิงแสม”
เจ้าเกร็ดหิมะ กอริลลาเผือก
Primate thing today….. โมเดลแม่ลูกกอริลล่าเผือก โดยปกติกอริลล่าทั่วไปมีขนสีดำปลอด ในฝูงหนึ่งจะมีเพศผู้โตเต็มวัยหรือตัวที่เป็นเป็นจ่าฝูงที่มีขนสีเทาข้างหลัง ที่เรียกกันว่า silverback หรือพวกหลังเงิน ส่วนตัวผู้ที่ยังไม่โตเต็มวัยเรียกว่าพวก black back สำหรับกอริลล่าเผือกพบน้อยมากในธรรมชาติ ซึ่งหากอยู่ในป่าลึกจริงๆก็คงไม่มีใครรู้ แต่มีกอริลล่าเผือก 1 ตัวที่โด่งดังมากในประวัติศาสตร์ ชื่อว่าเจ้า Snowflake เป็นกอริลล่าเพศผู้ สโนว์เฟลค เป็นกอริลล่า พันธุ์ย่อย “Western Lowland” ถูกจับมาโดยชาวบ้านในป่าของประเทศกินี่ และสุดท้ายถูกขายต่อให้แก่สวนสัตว์บาร์เซโลน่า ในสเปน ตั้งแต่ช่วง ปี 1967 ด้วยความที่มีสภาวะผิวเผือก สโนว์เฟลค จึงมีปัญหาในการมองเห็นที่ไม่ค่อยชัดเจน และสุดท้ายก็เสียชีวิตลงด้วยวัยประมาณ 38 หรือ 40 ปี (จากการกะอายุโดยประมาณ) จากโรคมะเร็งผิวหนัง สโนว์เฟลค มีลูก 21 ตัว หลาน 21 ตัว มีเหลนอีกจำนวนหนึ่ง หากคิดอีกแง่หนึ่งว่า การมาอยู่สวนสัตว์ก็ทำให้มันมีชีวิตยืนยาวตามสมควร แต่หากมันถูกฆ่าตายตั้งแต่ยังเด็กเพื่อตัดอวัยวะโดยเฉพาะกับคนที่คิดว่าอวัยวะของพวกคนผิวเผือก หรือ ลิงผิวเผือกเป็นยา โลกนี้ก็คงไม่มีโอกาสพบเห็นกอริลล่าเผือกและมันก็คงตายไปเงียบๆตั้งแต่อายุยังน้อยเพื่อทำยาให้คนที่คิดว่ากินของแปลกๆแล้วอายุจะยืนยาวขึ้นContinue reading “เจ้าเกร็ดหิมะ กอริลลาเผือก”